เจาะชีวิต!! สองตายาย หมอแคน-หมอลำ ผู้สร้างสีสันและรอยยิ้ม บน ถนนคนเดินท่าแพ

หลายๆคนเคยไปเดินเล่นที่ ถนนคนเดินท่าแพ ในช่วงวันอาทิตย์ ในช่วงเวลาพลบค่ำ อาจจะเคยเห็นคุณตาสวมแว่นใส่หมวกยืนเป่าแคน และคุณยายที่มีสีหน้ายิ้มแย้มใส่ชุดไทยคาดสไบยืนฟ้อนรำท่ามกลางนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินสวนไปมา หลายคนหยุดดูและถ่ายภาพ

ตาหลอม ปัจจุบันอายุ 75 ปี ส่วน ยายสุนัน อายุ 71 ปี ทั้งคู่แต่งงานและอยู่กินด้วยการประกอบอาชีพหมอแคน-หมอรำ จากความรักในช่วงวัยหนุ่มสาว ฟันฝ่าอุปสรรคร่วมกันมาจนถึงวันนี้ ร่วม 50 กว่าปีแล้ว ตาหลอมมีความสนใจในการเป่าแคน และไปร่ำเรียนตอนอายุ 15 ปี ใช้เวลา 2 ปีกว่าก็มาแสดงจริงตอนอายุ 17 ปี

ตากับยายพื้นเพเป็นคนจังหวัดอะไร
ตาเป็นคนจังหวัดศรีษะเกศ ส่วนยายอยู่จังหวัดอุบลราชธานี

เห็นยายว่าเมื่อก่อนตาเคยเล่นดนตรีในวง
ใช่ เคยเล่นในวงหมอลำ เล่นมาตั้งแต่อายุ17-18ปี แต่งงานกับยายตอนที่ยายอายุ20 ส่วนตาอายุ24ปี


ชื่อประเภทที่ยายรำเรียกว่าอะไร
ทางอีสานเรียกว่า รำโขง

สาเหตุที่ย้ายจากอีสานมาอยู่เชียงใหม่
ครั้งแรกเลย ย้ายครอบครัวมาอยู่เชียงราย และก็ย้ายจากเชียงรายมาอยู่เชียงใหม่ เพราะว่าลูกมาทำงานที่เชียงใหม่ ส่วนที่อีสานก็มีญาติๆ อยู่

เริ่มมาแสดงตั้งแต่เวลาเท่าไหร่
วันอาทิตย์นี่ก็ราวทุ่มกว่าๆ ไม่เกินสี่ทุ่มก็จะหยุด เมื่อก่อนไปแสดงที่วัวลายด้วย แต่ทางชุมชนขอให้งดงานรื่นรมณ์ทุกประเภทไว้ก่อน ตอนนี้เลยมาแสดงที่ถนนคนเดิท่าแพที่เดียว


ในวันธรรมดาตากับยายทำอะไร
ส่วนมากวันธรรมดาก็อยู่บ้าน เฝ้าบ้านให้ลูกให้หลาน ลูกหลานออกไปทำมาหากิน

ตาอยากบอกอะไรเกี่ยวกับศิลปะการแสดงประเภทนี้ให้คนรุ่นใหม่ๆไหม
รำโขงคนใหม่ๆ เขาก็ไม่ค่อยรู้จักหรอก อย่างแคนที่ตาเริ่มเรียนมาก็เป็นประเพณีของภาคอีสานมาแต่ปู่ย่าตายาย ตาก็ฝึกหัด มีอาจารย์สอน เริ่มเรียนตอนอายุ 15 พออายุ 17 ก็ออกแสดงแล้ว ไปตามวงหมอรำ เขาเรียกว่า รำหมู่ รำคู่ รำกลอน หรือต่อกลอน


เมื่อก่อนนักดนตรีที่ไปกันเป็นวง ไปแสดงที่ไหนก็จะต้องเล่นดนตรีก่อนสัก 2 ชั่วโมง แล้วต่อจากนั้นก็จะเป็นรำต่อกลอน แต่เดี่ยวนี้การรำจะน้อย จะมีช่วงแสดงและดนตรีมากกว่า

ปัจจุบันการรำประเภทนี้มีการถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่ๆไหม
แต่ก่อนตอนที่ตาอยู่อีสาน ก็มีลูกศิษย์สองสามคน พอออกไปก็เอาฝีมือที่เรียนไปทำมาหากิน อย่างมีงานไหน เขาก็เรียกไป คืนหนึ่งก็สองพันบาท แคนเนี่ยนะ อย่างเพลงก็เล่นตามเพลง หรือจะหมอรำ ก็เล่นตามหมอรำ
.
เดี๋ยวนี้คนรุ่นใหม่ๆ ทางแถบอีสานก็ยังมีการรำเรียนและสืบทอด ใช้ประกอบอาชีพทำมาหากินของเขาอยู่ ถิ่นกำเนิดของแคนก็อยู่ที่ภาคอีสาน มีทั่วภาคอีสาน ส่วนที่ภาคเหนือนี่ไม่มี ตามาอยู่ภาคเหนือ 40 กว่าปีแล้ว


ตาเคยไปเล่นดนตรีรวมวงกับเครื่องดนตรีทางภาคเหนือไหม
ไม่เคยนะ เพราะว่าคนละอย่างกัน อย่างทางอีสานก็จะมีแคนและก็พิณ ตามาอยู่ที่นี่จะเห็นคนเล่นเครื่องดนตรีประจำภาคมากว่า อย่าง สะล้อ ซอ ซึง

ทุกครั้งก่อนที่ยายเริ่มรำจะมีการไหวครู
ใช่ เป็นครูบาอาจารย์ที่ร่ำเรียนมา อย่างจะไปเล่นที่ไหน ก็ต้องมีทำพิธีก่อนแสดง อย่างทางเหนือเขาเรียกว่าขันตั้ง
.
นอกจากคนไทยที่มาเห็นแล้วก็มีคนต่างชาติด้วย
ความตั้งใจในการแสดงของตากับยายคืออยากให้ชาวโลกและคนภาคอื่นได้เห็นว่าประเพณีทางอีสานเขามีแบบไหนบ้าง ไม่ว่าจะการรำหรือการแสดงออก อย่างชาวต่างชาติเห็นเขาก็ชมกัน เวรี่กู๊ด เวรี่กู๊ด
.
เห็นยายจะยิ้มแย้มตลอดเวลาที่รำ
ใช่ เขาจะยิ้มแย้มตลอดเวลา การแสดงเราก็อยากให้มันออกมาดี อยากให้เขารู้ เขาเห็นประเพณีของภาคอีสาน
.
เคยมีคนมาติตต่อให้ออกไปแสดงนอกสถานที่ไหม
ก็มี บางที่ก็ไกลไปบ้าง ตากับยายก็ไปไม่ไหว เขาเอารถตู้มารับ บางครั้งก็ไปแสดงถ่ายบันทึกวีดีโอ รำบรวงสรวงละคร คล้ายๆหนังสั้นหรือสารคดีก็มี
ถ้าไม่ไกลมากตาก็ไปได้
.
ถ้ามีคนมาติดต่อได้วันไหนบ้าง
วันจันทร์ถึงศุกร์จะอยู่บ้าน เคยมีคนฝรั่งมาติดต่อ ตาก็ไม่เข้าใจภาษา เคยจะให้ไปแสดงที่เมืองนอก แต่ตากับยายไม่สามารถเดินทางไกลได้ แต่ก่อนน่ะไปได้ เดี๋ยวนี้ไม่ไหวแล้ว อย่างที่เชียงใหม่นี่ก็แสดงมาสี่สิบกว่าปีแล้ว

ถ้าลูกหลานคนไหน อยากจะดู อยากจะชม ถ้าไม่มีอุปสรรคอะไร ตากับยายก็ไปอยู่ อย่างท่านนายกก็อยากให้ตากับยายแสดงอยู่ตรงนั้นแสดงให้ลูกให้หลานดู ท่านก็ส่งเสริมดี
.
ศิลปะและประเพณีประจำภาค ของแต่ละภาค ล้วนมีมนต์เสน่ห์ มีอัตลักษณ์ มีภาษาพื้นถิ่นที่งดงาม แม้นว่าปัจจุบันความนำสมัยในโลกสมัยใหม่ที่ยังคงไม่หยุดเดินหน้าไปตามกาลเวลา กระนั้นศิลปะดั้งเดิมที่ตกทอดจากคนรุ่นเก่าๆ ก็มิได้สูญหายไปไหน หากว่ายังมีคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ สืบทอด รักษา มรดกและประเพณีอันงดงามของเราไว้สืบนาน.
.
* สนใจติดต่อการแสดง สามารถติดต่อได้โดยตรงที่ตาหลอม โทร 084 224 3510

Relate Posts :