เอไอเอส ร่วมสนับสนุนงาน TEDx Chiangmai 2018 โชว์เครือข่ายอัจฉริยะรับยุค Internet of Things (IoT) สนับสนุนแนวคิด Our Common Future เชื่อมโยงโลกอนาคต

10 กุมภาพันธ์ 2561 : เอไอเอส สนับสนุนงาน TEDx Chiangmai 2018 พร้อมเชื่อมโยงพันธมิตรในระบบนิเวศน์ของอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง – IoT Ecosystem นำเครือข่ายอัจฉริยะ Narrow Band – Internet of Things ที่มีจุดเด่นในด้านการประหยัดพลังงาน และสามารถเชื่อมต่อพร้อมรองรับการใช้กับอุปกรณ์และบริการแบบ IoT อย่างเต็มประสิทธิภาพตามมาตรฐานระดับสากล เชื่อมโยงโลกแห่งอนาคตในยุคดิจิทัล จุดประกายสมาร์ทซิตี้ ไปพร้อมกับการประหยัดพลังงานรักษาสิ่งแวดล้อม สอดคล้องแนวคิด Our Common Future

นายพรรัตน์ เจนจรัสสกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ เอไอเอส กล่าวว่า “ปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือ Internet of Things คือ ยุคที่อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสั่งการ เชื่อมต่อ สื่อสาร และควบคุมการทำงานอุปกรณ์ชิ้นอื่นได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกกำลังเริ่มนำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งในระดับของผู้บริโภค อาทิ Smart City , Smart Home , Smart Farming ซึ่งในประเทศไทยเอง ก็มีการรวมตัวของนักพัฒนาอุปกรณ์และซอฟแวร์ รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เริ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม และอุปกรณ์ IoT ออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง อาทิ Wearable device รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านบางประเภท, เครื่องตรวจวัดความชื้น/อุณหภูมิ, เครื่องวัดระดับน้ำ, จักรยานแบ่งกันปั่น หรือ Bike Sharing ในลักษณะ Machine2Machine ซึ่งนอกเหนือไปจากความสะดวกสบายที่ได้รับแล้ว ยังได้รวมแนวคิดถึงการรองรับการใช้งานของสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะมาถึงในไม่กี่ปีอีกด้วย”


โดยในงาน เราได้เปิดให้ชมการประยุกต์ใช้งานจากเทคโนโลยี NB-IoT หรือ Narrow Band – Internet of Things จากของจริง อาทิ ระบบ Smart Farming , Smart Home , Bike Sharing ที่เชื่อมต่อกับ IoT อย่างเต็มประสิทธิภาพตามมาตรฐานระดับสากล พร้อมมีจุดเด่นด้วยการใช้งานพลังงานไฟฟ้าต่ำ สอดคล้องกับแนวคิด Our Common Future ที่เชื่อมโยงโลกอนาคตไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน

จุดเด่นเครือข่าย AIS NB-IoT ประกอบด้วย

1. สนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ จึงช่วยทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ IoT อยู่ได้นานถึง 10 ปี

2. สามารถรองรับปริมาณอุปกรณ์ IoT ได้สูงสุดในระดับแสนตัวต่อสถานีฐาน 3. รัศมีครอบคลุมของเครือข่ายต่อสถานีฐาน กระจายได้มากกว่า 10 ก.ม. รวมถึงในตัวอาคารก็ยังรับสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. สามารถพัฒนาเครือข่ายให้เปิดบริการ IoT ได้อย่างรวดเร็ว เพราะออกแบบอุปกรณ์ให้ใช้ร่วมกับ โครงข่าย 4G ในปัจจุบันได้ นายพรรัตน์ ย้ำว่า “ยุคของ Internet Of Things-IoT มาถึงเราแล้วอย่างชัดเจนและเชื่อว่าจะเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างมาก ดังนั้นการเตรียมความพร้อมจึงเป็นเรื่องสำคัญ และเอไอเอส ยินดีอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวกลางเพื่อเชิญชวนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาผนึกกำลัง สร้างระบบนิเวศน์ของอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT Ecosystem) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยให้แข็งแกร่งต่อไป”


 

Relate Posts :