‘ศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช’ เดินหน้าวิจัย ‘ยาคลอโรควิน’ เพื่อรักษาโควิด-19 เปิดรับอาสาสมัครเพื่อทดลองยาแล้ว 400 คน

ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หรือ SICRES (Siriraj Institute of Clinical Research) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับงานวิจัยทางคลินิก เผยพบหลักฐานว่า ยาคลอโรควิน (chlorquine) ซึ่งเป็นยารักษามาลาเรียเป็นหนึ่งในตัวยาที่ถูกนำมาปรับใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 โดยพบว่า ยาคลอโรควินสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ และมีการศึกษาเบื้องต้นยืนยันประสิทธิภาพในคน ล่าสุด ศูนย์วิจัยคลินิกศิริราชจึงได้จัดตั้งโครงการวางแผนวิจัย เพื่อนำยาคลอโรควินมาทดลองในมนุษย์ และขณะนี้ได้เปิดรับอาสาสมัคร ซึ่งเป็นผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยโควิดแล้ว จำนวน 400 คน คาดว่า จะใช้เวลา 1 เดือน

ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก หรือ SICRES กล่าวว่า SICRES ได้ทุ่มเททำการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาคำตอบเพื่อหาวิธีป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 ในประเทศไทย จากการวิจัยเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่พบว่าการติดเชื้อประมาณ 70-80% เกิดจากการติดต่อกันในครอบครัว เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวป่วยหนึ่งคน โอกาสเสี่ยงของสมาชิกคนอื่นๆ จะมีสูงมากที่จะติดโควิด ทั้งแบบที่แสดงอาการหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันสมาชิกในบ้านไม่ให้ติดเชื้อเพิ่มเติม และไม่ไปแพร่เชื้อต่อ จึงเกิดการค้นคว้าเอายาต้านเชื้อโควิด มาป้องกันผู้ที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ซึ่งมีหลักฐานว่า ยาคลอโรควิน (chloroquine) ซึ่งเป็นยารักษามาลาเรียมากว่า 70 ปีที่พบว่ามีความปลอดภัยสูง กลายเป็นหนึ่งในตัวยาแห่งความหวังที่นำมาปรับใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 หลังจากมีการศึกษาในหลอดทดลองแล้วพบว่า สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ และมีการศึกษาเบื้องต้นยืนยันประสิทธิภาพในคน แต่ประสิทธิผลที่แน่ชัดในคนกำลังมีการศึกษาอยู่

“ศูนย์วิจัย SICRES เริ่มเขียนแบบแผนการดำเนินโครงการ (Protocols) วางแผนงานวิจัย ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยในเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนจะส่งให้คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของศิริราชพิจารณาอนุมัติโครงการวิจัย จัดทำเอกสารการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จนกระทั่งปัจจุบันมีความพร้อมที่จะนำยาคลอโรควินมาทดลองในคน ซึ่งขณะนี้โครงการได้เปิดรับอาสาสมัคร ซึ่งต้องเป็นผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยโควิด จำนวน 400 คน”

“โดยทันทีที่ทราบว่ามีผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 1 ราย เราจะรีบไปเชิญสมาชิกในบ้านที่ยังไม่ป่วยให้มาเข้าร่วมการศึกษาก่อนที่จะป่วยตามไปก่อน โดยจะให้สมาชิกร่วมบ้านกับผู้ป่วยกินยาคลอโรควิน 2 ครั้ง ครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม โดยครั้งแรกคือทันทีที่รู้ว่ามีคนในบ้านป่วยเป็นโควิด-19 หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ให้กินครั้งที่สอง หากการศึกษานี้ได้ผลดีตามที่คาด จะเป็นการป้องกันการแพร่ของเชื้อที่ได้ผลมาก เพราะการแพร่เชื้อในบ้านจุดที่ทำให้เกิดการกระจายเชื้อสู่ชุมชนเป็นวงที่กว้างขึ้น เด็กๆที่ติดเชื้อจากที่บ้าน ก็อาจเอาไปแพร่ต่อในโรงเรียน การป้องกันการแพร่เชื้อในบ้านที่ได้ผลดี จึงเป็นการตัดวงจรการแพร่ระบาดที่ได้ผลดี ผู้ป่วยเองก็ไม่ต้องกังวลว่า คนที่รักที่บ้านจะป่วยตามเพราะสามารถกินยาป้องกันได้

“การศึกษานี้ถ้าได้ผลดี  ไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์แต่มวลมนุษยชาติยังได้ประโยชน์จากการศึกษานี้ด้วย ประชาชนเข้าถึงยาได้ในราคาถูก และปลอดภัย สำหรับระยะเวลาในการศึกษาขึ้นอยู่กับว่าเราจะมีจำนวนอาสาสมัครที่จะเข้าร่วมโครงการศึกษานี้ได้เร็วเพียงใด หากมีอาสาสมัครครบ 400 คนแล้ว คาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือน”


“ทั้งนี้ ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในประเทศไทยมีสถิติดีขึ้น มีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ลดลงมาก ทำให้ระยะเวลาการศึกษากับกลุ่มอาสาสมัครในเมืองไทยอาจยาวนานกว่าที่คาดการณ์ แต่ถ้ามีการระบาดระลอกที่สอง เราก็อยากจะได้คำตอบรอไว้ใช้งานเลย”

“เรามีความร่วมมือกับองค์กรที่ดำเนินงานด้านโควิด-19 อีกหลายแห่ง อาทิ องค์กรเพื่อการริเริ่มจัดหายาสำหรับโรคที่ถูกละเลย (Drugs for Neglected Diseases initiative, DNDi) ซึ่งทางองค์กรได้ขอนำโมเดลการศึกษานี้ของ SICRES ไปใช้ศึกษาในต่างประเทศด้วย ซึ่งศิริราชยินดีและให้ความร่วมมือ โดยในระยะเวลาอันใกล้ โดยผลการศึกษาจากการนำโมเดลนี้ไปใช้ในประเทศที่กำลังมีการแพร่ระบาดอย่างได้ผล จะสะท้อนความสำเร็จของนักวิจัยไทย”

ผู้อำนวยการศูนย์ SICRES กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการตั้งคำถามวิจัย สู่การเขียนโครงการและการประเมินจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ทุกขั้นตอนต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ และต้องมีคุณภาพและความปลอดภัยสูง ซึ่งเมื่อเปิดโครงการศึกษาปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการนี้สำเร็จหรือไม่ อยู่ที่ความเชื่อมั่นของผู้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร และทุนสนับสนุนการวิจัย ซึ่งประเทศไทยยังพบว่ามีอุปสรรคพอสมควร

“งานวิจัยไม่ใช่งานส่วนตัว แต่จะกลายเป็นงานที่มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อผู้ป่วย เพื่อประเทศ และเพื่อมนุษยชาติ หากมีระบบการจัดการสนับสนุนที่จริงจังจะนำไปสู่งานนวัตกรรมที่ออกสู่ตลาดได้ หมออยากให้คนไทยรู้ว่าประเทศเราไม่น้อยหน้าใครในเรื่องงานวิจัย อยากให้คนไทยเห็นความสำคัญของการสร้างงานวิจัย ต่อยอดงานวิจัย และมั่นใจได้ว่างานวิจัยในมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพสูงมาก มีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ที่ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยของอาสาสมัคร ไม่ต้องกังวลว่าเราจะเป็นหนูทดลอง เพราะมีระบบรองรับดูแลอย่างดี ที่สำคัญอยากให้ประชาชนคนไทย ได้เข้าใจว่า งานวิจัยคือหัวใจของการพัฒนายาและวิธีการรักษาผู้ป่วย การรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบันที่มีพัฒนาการและมีประสิทธิภาพ สามารถรักษาโรคยากๆได้ ก็ล้วนได้มากจากผลงานวิจัยทั้งสิ้น งานวิจัยต้องทำในประเทศไทยจึงจะทราบแน่ชัดว่าได้ผลกับคนไทย จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการสนับสนุนงานวิจัยทางการแพทย์ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนการปฏิบัติการอื่นๆทางการแพทย์ ซึ่งศิริราชให้ความสำคัญกับงานวิจัยเพื่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก”

“เพราะแม้ว่าศูนย์วิจัย SICRES จะได้รับทุนดำเนินงานจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แต่เพราะงานวิจัยจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง การศึกษาวิจัยมีความจำเป็นต้องใช้เงินสมทบทุนจากส่วนอื่นๆ มาช่วยสนับสนุนการศึกษา หากมีผู้บริจาคเข้ากองทุนวิจัยโดยตรง ภาระของศิริราชก็น้อยลง การพัฒนาโรงพยาบาลก็ทำได้คล่องตัวมากขึ้น ไปพัฒนางานบริการได้มากขึ้น” ศ.พญ.กุลกัญญา กล่าว


“สุดท้ายแล้ว อยากให้คนไทยทุกคนมีส่วนร่วมในงานวิจัยเพื่อการแพทย์ ผู้ที่มีโอกาสเป็นอาสาสมัคร ขอให้มีความเต็มใจ และภาคภูมิใจว่า ได้มีส่วนทำให้เกิดความรู้และการพัฒนาทางการแพทย์ และนอกจากการเข้าร่วมวิจัยจะให้ผลดีการรักษาหรือป้องกันโรคแก่ตัวท่านเองแล้ว ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยที่ท่านเข้าร่วม อาจจะช่วยชีวิตผู้อื่นๆต่อไปได้ การสนับสนุนจากทุกคน ไม่ว่าจะด้วยการเป็นอาสาสมัคร หรือการช่วยแพร่ความรู้ รวมทั้งการสนับสนุนด้านเงินบริจาค ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญทั้งสิ้น”ศ.พญ.กุลกัญญา กล่าวทิ้งท้าย

สามารถร่วมสมทบทุนเพื่อต่อยอดงานวิจัย ต้านภัยโควิด โดยศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช ได้ที่ “กองทุนวิจัยเพื่อผู้ป่วย”สำหรับสนับสนุนงานวิจัยเพื่อลดการแพร่กระจายไวรัสโควิด-19 ศิริราช ธนาคารกรุงเทพ สาขารพ.ศิริราช ปิยะมหาราชการุณย์ 901-7-06257-2 ชื่อบัญชี ศิริราชมูลนิธิ ทุนวิจัยเพื่อผู้ป่วย D004015 สอบถามรายละเอียด โทร. 02-419-7658-60 ต่อ 101-104 หรือ [email protected]

เกี่ยวกับศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช

ศูนย์วิจัยคลินิกศิริราช ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่การวิจัยที่ต้องทำในคน และเชื่อมโยงให้เกิดนวัตกรรมและต่อยอดจากผลงานวิจัย ช่วยให้นักวิจัยได้ทำการค้นคว้าหาคำตอบที่นำไปสู่การดูแล รักษา และป้องกันผู้ป่วยจากโรคต่างๆได้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการค้นคว้าทดสอบเรื่องยา วิธีการรักษา หรือเครื่องมือใหม่ๆที่จะนำมาใช้กับผู้ป่วย SICRES เป็นหน่วยงานที่มีอิสระในการบริหารจัดการ คิดค้นงานวิจัยได้หลากหลาย ไม่ติดกรอบ แต่ขณะเดียวกันก็มีบุคลากรที่เปี่ยมประสิทธิภาพของศิริราช และมหาวิทยาลัยมหิดล โดยให้บริการเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยทางคลินิกให้แก่บุคลากรทั้งหน่วยงานทั้งภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล หน่วยงานจากภาครัฐและเอกชน

ชมคลิปกองทุนวิจัยเพื่อผู้ป่วย เพื่อลดการแพร่กระจายไวรัสโควิด-19 รพ.ศิริราช  https://youtu.be/E5SBXl7Euk8

Relate Posts :

*nap ได้กลับมาแล้ว เป็น *nap ครั้งที่ 22 ที่ถนนนิมมานเหมินท์ ซอย 1

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine*nap 2022 We are Back! เชียงใหม่อากาศเริ่มจะเย็นแล้ว มาเที่ยวเชียงใหม่ต้นเดือนธันวาคมนี้ ชวนมาชมเที่ยวงาน *nap  (นิมมานเหมินท์ อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ พรอเมอนาด) ครั้งที่ 22 ตั้งแต่วันที่ 3-11 ธันวาคม 2565 ที่ถนนนิมมานเหมินท์ ซอย 1 งาน *nap (นิมมานเหมินท์ อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ พรอเมอนาด) เว้นว่างไป 1 ปี เมื่อปีที่ผ่านมาด้วยสถานการณ์โควิด-19 และปีนี้ งาน *nap ได้กลับมาแล้ว เป็น *nap ครั้งที่ 22 โดยการจัดงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มร้านค้าย่านถนนนิมมานเหมินท์ ซอย 1, โครงการ One Nimman และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ […]

Arr

November 30, 2022

เชิญชวนนักเรียนเยาวชน และผู้ที่สนใจร่วมงาน มหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น 2565

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และเครือข่าย วันที่ 7-9 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ “ภายในงานพบกับกิจกรรม ดังนี้” งานแข่งขันทักษะทางวิชาการระดับภาคเหนือ พบกับ…   นิทรรศการทางวิชาการ   เวทีแสดงความสามารถ   การประกวดการแข่งขันทักษะทางวิชาการ งานส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ของพลเมืองเชียงใหม่ พบกับ…    นิทรรศการ เครือข่ายการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่    นิทรรศการการเรียนรู้สู่โลกอนาคต    นิทรรศการส่งเสริมสัมมาชีพระหว่างเรียน    การแสดงความสามารถของนักเรียนนักศึกษา  งานสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์พื้นถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ พบกับ…    นิทรรศการจำลองวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ของกลุ่มชาติพันธ์ุ    กิจกรรมWorkshop ของกลุ่มชาติพันธ์ุ    การแสดงศิลปะวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ุ    การจำหน่ายสินค้า งานหัตถกรรมและอาหารกลุ่มชาติพันธ์ุ “ จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และเครือข่าย”      เนื่องด้วยสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นส่วนราชการส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษ ในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย งานบริหารวิชาการด้านการศึกษา งานโรงเรียน งานกิจการนักเรียน […]

Arr

July 29, 2022

กิจกรรมพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนออกสู่เชิงพาณิชย์

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนออกสู่เชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน รับสมัคร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และ วิสาหกิจชุมชน 7สาขา อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมเซรามิคและแก้ว สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร อุตสาหกรรมสนับสนุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่กำกับดูแลของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 (8 จังหวัดภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน สแกนสมัครกิจกรรม Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine

Arr

June 16, 2022

BaanBaan.co จับมือ ReviewChiangmai เปิดตัว ‘BaanBaan Northern’ เว็บไซต์เพื่อคนหาบ้าน บุกตลาดภาคเหนือ ดันศักยภาพด้วย Property Tech

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineBaanBaan.co เว็บไซต์บริการข้อมูลเกี่ยวกับโครงการบ้านและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการอยู่อาศัยที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งในภาคอีสาน ประกาศจับมือ ReviewChiangmai ร่วมเปิดตัว ‘BaanBaan Northern’ ขยายการให้บริการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ดันศักยภาพด้วย Property Technology พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ในภาคเหนือ BaanBaan.co เปิดตัวเมื่อต้นไตรมาสที่ 2 ปี 2563 จัดตั้งโดยบริษัท Createder บริษัทด้านเทคโนโลยีที่ก่อตั้งในจังหวัดนครราชสีมา เริ่มต้นด้วยการให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับโครงการบ้านและอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และอุบลราชธานี ซึ่งได้รับผลตอบรับจากผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัยพ์และคนที่สนใจภาคอีสานเป็นอย่างดี สำหรับ ReviewChiangmai คือผู้สร้างสรรค์ และส่งมอบ Content สู่ผู้ติดตามรวมทุกแพลตฟอร์มกว่า 1.3 ล้านคน จึงมีความเชี่ยวชาญ รู้ลึกเรื่องเชียงใหม่ เข้าใจ insight คนภาคเหนือเป็นอย่างดี เป็นอีกช่องทางที่จะเข้ามาช่วยในการเข้าถึง คนหาบ้าน และกระจายข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ในภาคเหนือให้มากขึ้น พัฒนาโดยทีม GoGo Digital ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล และรับดูแลการตลาดให้กับ Startup ในเชียงใหม่ กว่า 5 แบรนด์ การจับมือของ […]

Arr

November 19, 2021

NIA เปิดตัวสำนักงานภาคเหนือ ผลักดันเชียงใหม่สู่การเป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาค ภาคเหนือ

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดสำนักงานภาคเหนือ NIA Northern Regional Connect เดินหน้าต่อยอดการผลักดันเชียงใหม่ไปสู่การเป็นจังหวัดศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาค ภาคเหนือ เพื่อทำหน้าที่เป็น System Integrator ในการเชื่อมโยงส่วนราชการท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน และชุมชน โดยจะร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เช่น เทศบาล มหาวิทยาลัย อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค หรือ อว.ส่วนหน้า ในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาขับเคลื่อนนวัตกรรมระดับภูมิภาค รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า หนึ่งในภารกิจของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. คือ ต้องการมุ่งเน้นการขับเคลื่อนประเทศให้เปลี่ยนแปลงไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของคน และการนำเอาองค์ความรู้แบบบูรณาการศาสตร์ ผนวกกับงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาค ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายในหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน ที่พร้อมจะช่วยกันพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในพื้นที่ภูมิภาคให้พร้อมเติบโตและสามารถสร้างนวัตกรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของประเทศ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยมี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ […]

Arr

September 15, 2021