สวพส. เผยการวิจัยและพัฒนาการปลูกกัญชง (เฮมพ์) พืชเศรษฐกิจทางเลือก คาดเคาะราคาเมล็ดพันธุ์ในเดือนเมษายน 64

สวพส.- ข่าวสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. เผยข้อมูลการวิจัยและพัฒนากัญชงหรือ เฮมพ์ พร้อมผลักดันเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ของเกษตรกร ซึ่งจากผลการวิจัยขณะนี้สามารถพัฒนาพันธุ์เฮมพ์ 4 พันธุ์ ที่ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร คือ RPF1 , RPF2 , RPF3 และ RPF4

สวพส.

ซึ่งเป็นพันธุ์สำหรับผลิตเส้นใยโดยมีเปอร์เซ็นต์เส้นใย 12-14.7% ปริมาณสารที่เป็นประโยชน์ CBD 0.8-1.2% และมีปริมาณสารเสพติด THC ต่ำกว่า 0.3% และคาดว่าจะได้สายพันธุ์ใหม่ ๆ เพิ่มอีก 5 พันธุ์ ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจปริมาณและคุณภาพของเมล็ด รวมทั้งการกำหนดราคาและแนวทางการบริหารจัดการ โดยคาดว่าจะสามารถจำหน่ายได้ประมาณเดือนเมษายน 2564

สวพส.

สวพส. – นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เปิดเผยว่า เมื่อปี พ.ศ. 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้มีการศึกษาการเพาะปลูกกัญชงอย่างจริงจังในประเทศไทย ความว่า “….สมควรศึกษาและส่งเสริมให้เกษตรกรชาวเขาปลูกกัญชง เพื่อใช้เส้นใยผลิตเครื่องนุ่งห่มและจำหน่ายเป็นรายได้……”

คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548 มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ศึกษาและพิจารณาแนวทางการส่งเสริม และการควบคุมดูแลการปลูกกัญชง

จากนั้น สศช. จึงได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และมูลนิธิโครงการหลวง เริ่มดำเนินการวิจัยและพัฒนากัญชงอย่างจริงจัง มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 โดยต่อมาเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2552 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การส่งเสริมการปลูกเฮมพ์เป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงฉบับที่ 1 พ.ศ. 2552 -2556

และเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการพัฒนาเฮมพ์บนพื้นที่สูง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2553 – 2557) และแผนปฏิบัติการพื้นที่นำร่องส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ 5 จังหวัด เชียงใหม่ น่าน เชียงราย ตาก และเพชรบูรณ์


สวพส.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)สวพส. จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนากัญชง มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 จนกระทั้งปัจจุบัน โดยได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่สำคัญ คือ การพัฒนาพันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต การแปรรูป การตลาด และสนับสนุนการผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่ถูกต้องตามกฏหมาย

โดยระยะแรกมุ่งการใช้ประโยชน์ด้านเส้นใย และต่อมาได้ขยายการวิจัยและพัฒนาด้านสาร CBD เมล็ด และส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งผลการวิจัยสามารถพัฒนาพันธุ์เฮมพ์ 4 พันธุ์ และได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร คือ RPF1 , RPF2 , RPF3 และ RPF4 ซึ่งเป็นพันธุ์สำหรับผลิตเส้นใยโดยมีเปอร์เซ็นต์เส้นใย 12-14.7% ปริมาณสารที่เป็นประโยชน์ CBD 0.8-1.2% และมีปริมาณสารเสพติด THC ต่ำกว่า 0.3%

รวมทั้งเมล็ดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถผลิตเพื่อการบริโภคได้และคาดว่าจะได้สายพันธุ์ใหม่ ๆ เพิ่มอีก 5 พันธุ์ ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ระบบการปลูกภายใต้การควบคุมตามกฎหมาย รวมทั้งการแปรรูปเส้นใยเฮมพ์ และส่วนอื่น ๆ ของเฮมพ์ ส่งผลให้มีการแก้ไขกฎหมายและข้อกำหนด/ระเบียบต่าง ๆ ให้สามารถปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจได้

จากการแก้กฏหมายและข้อกำหนด/ระเบียบ ฉบับที่สำคัญคือ“กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563” และ “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข

เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563” ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง รวมทั้งกำหนดให้ส่วนของกัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ได้แก่ ใบ เมล็ด (seed และ grain) ราก ลำต้น และสารสกัด CBD ที่มี THC ต่ำกว่า 0.3%

ทำให้กัญชงมีโอกาสที่จะเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร และขณะนี้มีเกษตรกร เอกชน และหน่วยงานต่าง ๆ จำนวนมากต้องการเมล็ดและส่วนประกอบต่าง ๆ ของเฮมพ์จาก สวพส. ทั้งเพื่อการปลูกและการศึกษาวิจัย

สวพส. จึงได้กำหนดแนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมการปลูกและพัฒนาการผลิตกัญชงโดย 1) จัดหาเมล็ดและส่วนต่าง ๆ ของกัญชงที่ไม่จัดเป็นพืชเสพติด สำหรับจำหน่ายแก่เกษตรกรที่ได้รับการอนุญาตปลูก

โดยเมล็ดพันธุ์พันธุ์รับรองสำหรับฤดูการผลิตปี 2564 ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2564 ค่อนข้างมีจำนวนจำกัดเนื่องจากไม่ได้มีการผลิตสำรองไว้ในปีที่ผ่านมา ก่อนกฏหมายอนุญาต ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจปริมาณและคุณภาพของเมล็ด รวมทั้งการกำหนดราคาและแนวทางการบริหารจัดการ

โดยคาดว่าจะสามารถจำหน่ายได้ประมาณเดือนเมษายน 2564 และ 2.) ในฤดูการผลิต 2565-2566 ได้วางแผนส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปลูกเฮมพ์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ และส่วนประกอบของเฮมพ์ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดจำหน่าย โดยจะเริ่มรับแผนความต้องการจากผู้สนใจในเดือน เมษายน 2564


“ด้วยคุณสมบัติอันหลากหลายของกัญชงหรือเฮมพ์ที่มีความยืดหยุ่น ทนทาน แข็งแรง ให้เส้นใยที่ยาว นำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น เปลือก/เส้นใยทำผลิตภัณฑ์สิ่งทอ แกนลำต้นทำวัสดุก่อสร้าง เมล็ดมีคุณค่าทางโภชนาการสูงทำผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง และใบสามารถสกัดทำเป็นยารักษาโรค

ทำให้มีการใช้ประโยชน์กันมานานและมีการวิจัยและพัฒนามากมาย โดย สวพส. พร้อมเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูล การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และขั้นตอนการปลูกให้แก่เกษตรกร บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หน่วยราชการ วิสาหกิจชุมชนหรือภาคเอกชนที่สนใจ เพื่อให้สามารถนำไปสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต

โดยสามารถติดตามข่าวสารต่าง ๆ ของ สถาบันฯ ผ่าน
เว็บไซต์ :สวพส. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
Facebook Fanpage : สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน)

Relate Posts :

*nap ได้กลับมาแล้ว เป็น *nap ครั้งที่ 22 ที่ถนนนิมมานเหมินท์ ซอย 1

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine*nap 2022 We are Back! เชียงใหม่อากาศเริ่มจะเย็นแล้ว มาเที่ยวเชียงใหม่ต้นเดือนธันวาคมนี้ ชวนมาชมเที่ยวงาน *nap  (นิมมานเหมินท์ อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ พรอเมอนาด) ครั้งที่ 22 ตั้งแต่วันที่ 3-11 ธันวาคม 2565 ที่ถนนนิมมานเหมินท์ ซอย 1 งาน *nap (นิมมานเหมินท์ อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ พรอเมอนาด) เว้นว่างไป 1 ปี เมื่อปีที่ผ่านมาด้วยสถานการณ์โควิด-19 และปีนี้ งาน *nap ได้กลับมาแล้ว เป็น *nap ครั้งที่ 22 โดยการจัดงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มร้านค้าย่านถนนนิมมานเหมินท์ ซอย 1, โครงการ One Nimman และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ […]

Arr

November 30, 2022

เชิญชวนนักเรียนเยาวชน และผู้ที่สนใจร่วมงาน มหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น 2565

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และเครือข่าย วันที่ 7-9 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ “ภายในงานพบกับกิจกรรม ดังนี้” งานแข่งขันทักษะทางวิชาการระดับภาคเหนือ พบกับ…   นิทรรศการทางวิชาการ   เวทีแสดงความสามารถ   การประกวดการแข่งขันทักษะทางวิชาการ งานส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ของพลเมืองเชียงใหม่ พบกับ…    นิทรรศการ เครือข่ายการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่    นิทรรศการการเรียนรู้สู่โลกอนาคต    นิทรรศการส่งเสริมสัมมาชีพระหว่างเรียน    การแสดงความสามารถของนักเรียนนักศึกษา  งานสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์พื้นถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ พบกับ…    นิทรรศการจำลองวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ของกลุ่มชาติพันธ์ุ    กิจกรรมWorkshop ของกลุ่มชาติพันธ์ุ    การแสดงศิลปะวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ุ    การจำหน่ายสินค้า งานหัตถกรรมและอาหารกลุ่มชาติพันธ์ุ “ จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และเครือข่าย”      เนื่องด้วยสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นส่วนราชการส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษ ในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย งานบริหารวิชาการด้านการศึกษา งานโรงเรียน งานกิจการนักเรียน […]

โปรเหนือ pronuea

July 29, 2022

กิจกรรมพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนออกสู่เชิงพาณิชย์

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนออกสู่เชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน รับสมัคร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และ วิสาหกิจชุมชน 7สาขา อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมเซรามิคและแก้ว สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร อุตสาหกรรมสนับสนุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่กำกับดูแลของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 (8 จังหวัดภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน สแกนสมัครกิจกรรม Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine

aum

June 16, 2022

BaanBaan.co จับมือ ReviewChiangmai เปิดตัว ‘BaanBaan Northern’ เว็บไซต์เพื่อคนหาบ้าน บุกตลาดภาคเหนือ ดันศักยภาพด้วย Property Tech

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineBaanBaan.co เว็บไซต์บริการข้อมูลเกี่ยวกับโครงการบ้านและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการอยู่อาศัยที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งในภาคอีสาน ประกาศจับมือ ReviewChiangmai ร่วมเปิดตัว ‘BaanBaan Northern’ ขยายการให้บริการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ดันศักยภาพด้วย Property Technology พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ในภาคเหนือ BaanBaan.co เปิดตัวเมื่อต้นไตรมาสที่ 2 ปี 2563 จัดตั้งโดยบริษัท Createder บริษัทด้านเทคโนโลยีที่ก่อตั้งในจังหวัดนครราชสีมา เริ่มต้นด้วยการให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับโครงการบ้านและอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และอุบลราชธานี ซึ่งได้รับผลตอบรับจากผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัยพ์และคนที่สนใจภาคอีสานเป็นอย่างดี สำหรับ ReviewChiangmai คือผู้สร้างสรรค์ และส่งมอบ Content สู่ผู้ติดตามรวมทุกแพลตฟอร์มกว่า 1.3 ล้านคน จึงมีความเชี่ยวชาญ รู้ลึกเรื่องเชียงใหม่ เข้าใจ insight คนภาคเหนือเป็นอย่างดี เป็นอีกช่องทางที่จะเข้ามาช่วยในการเข้าถึง คนหาบ้าน และกระจายข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ในภาคเหนือให้มากขึ้น พัฒนาโดยทีม GoGo Digital ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล และรับดูแลการตลาดให้กับ Startup ในเชียงใหม่ กว่า 5 แบรนด์ การจับมือของ […]

romchut

November 19, 2021

NIA เปิดตัวสำนักงานภาคเหนือ ผลักดันเชียงใหม่สู่การเป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาค ภาคเหนือ

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดสำนักงานภาคเหนือ NIA Northern Regional Connect เดินหน้าต่อยอดการผลักดันเชียงใหม่ไปสู่การเป็นจังหวัดศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาค ภาคเหนือ เพื่อทำหน้าที่เป็น System Integrator ในการเชื่อมโยงส่วนราชการท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน และชุมชน โดยจะร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เช่น เทศบาล มหาวิทยาลัย อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค หรือ อว.ส่วนหน้า ในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาขับเคลื่อนนวัตกรรมระดับภูมิภาค รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า หนึ่งในภารกิจของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. คือ ต้องการมุ่งเน้นการขับเคลื่อนประเทศให้เปลี่ยนแปลงไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของคน และการนำเอาองค์ความรู้แบบบูรณาการศาสตร์ ผนวกกับงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาค ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายในหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน ที่พร้อมจะช่วยกันพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในพื้นที่ภูมิภาคให้พร้อมเติบโตและสามารถสร้างนวัตกรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของประเทศ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยมี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ […]

โปรเหนือ pronuea

September 15, 2021