คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ผู้มาจากพื้นที่สีแดงเข้มต้อง “ถูกคุมไว้สังเกต” 14 วัน !!

รับลูก ศบค.ใหญ่ เชียงใหม่ ออกคำสั่งที่ 47/2564 สั่งห้ามจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ทุกรูปแบบ กิจกรรมรวมคน ห้ามมีคนร่วมมากกว่า 10 คน ขึ้นไป “งานศพคนร่วมงานได้ไม่เกิน 20 คน”

คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 30 เม.ย. 64 ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่มีมติออกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ รวม 4 ฉบับ ฉบับที่ 47-50 โดยให้เหตุผลในการออกคำสั่งทั้ง 4 ฉบับนี้ว่า สืบเนื่องจากการที่นายกรัฐมนตรี ได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 22)

มีการปรับระดับการกำหนดพื้นที่สถานการณ์ กำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จึงต้องมีการแก้ไขปรับปรุงคำสั่งที่เคยออกก่อนหน้านี้ทั้งนี้เพื่อให้การกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด – 19 สอดคล้องกับพื้นที่สถานการณ์และข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 22 คำสั่งทั้ง 4 ฉบับประกอบด้วย

คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 47/2564 เรื่อง มาตรการควบคุมการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมาก คำสั่งฉบับนี้ให้ยกเลิกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ที่ 42/2564 โดยมีสาระสำคัญคือ ห้ามจัดกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์ทุกรูปแบบ การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของทุกศาสนา ให้ถือปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งของผู้ปกครองของแต่ละศาสนา ห้ามจัดงานที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 10 คน ขึ้นไป

ส่วนงานอวมงคล ให้จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงานไม่เกิน 20 คน พร้อมกันนี้ให้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง


ห้ามกิน-ดื่มในร้านอาหาร เปิดขายได้ถึง 3 ทุ่ม ต้องหิ้วไปกินที่อื่นเท่านั้น พร้อม “ห้ามจัดแข่งกีฬา” สนามกีฬา ที่ออกกำลังกาย ในร่มให้งดบริการ ออกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.เชียงใหม่ ที่ 48/2564 ตามแนวทาง ศบค.

ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่มีมติออก คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 48/2564 เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งคำสั่งฉบับนี้ให้ยกเลิก ข้อ 3.1 ของคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ที่ 44/2564 โดยมีสาระสำคัญว่า ร้านหรือสถานที่จำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม งดการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม สุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ที่ร้านหรือสถานที่และบริเวณโดยรอบ โดยให้จำหน่ายเพื่อนำไปกินดื่มที่อื่นเท่านั้น และเปิดให้บริการได้จนถึงเวลา 21.00 น. พร้อมกันนี้ยังสั่งให้ สนามกีฬา สถานที่ออกกำลังกายในร่ม ปิดให้บริการ ส่วนประเภทกลางแจ้งหรือตั้งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้ง สามารถเปิดได้ไม่เกิน 21.00 น. โดยห้ามจัดให้มีการแข่งขันกีฬา ซึ่งผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้การที่ออกคำสั่งฉบับนี้ สืบเนื่องจากการที่นายกรัฐมนตรี ได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 22) มีการปรับระดับการกำหนดพื้นที่สถานการณ์ กำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จึงต้องมีการแก้ไขปรับปรุงคำสั่งที่เคยออกก่อนหน้านี้ทั้งนี้เพื่อให้การกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด – 19 สอดคล้องกับพื้นที่สถานการณ์และข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 22



เดินทางเข้าเชียงใหม่ ต้องลงทะเบียน CM-CHANA ทุกคน ผู้มาจากพื้นที่สีแดงเข้มต้อง “ถูกคุมไว้สังเกต” 14 วัน ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้สังเกตอาการตนเองใกล้ชิด รายงตัวต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคในพื้นที่ทันทีที่เข้าพื้นที่

ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่มีมติออกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 49/2564 เรื่อง มาตรการควบคุมการเดินทางของประชาชน โดยมีสาระสำคัญว่า ให้ผู้เดินทางเข้าจังหวัดเชียงใหม่ต้องลงทะเบียน “CM-CHANA” ทุกคน ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่ควบคุมสูงสุด ต้องรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อทันที ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้รับแจ้งจาก CM-CHANA

หากไม่ได้รับข้อความ ให้โทร 084 8052121, 084 805 3131 พร้อมกันนี้จะถูกคุมไว้สังเกต (Control for observation) 14 วัน โดยหากจำเป็นออกจากที่พัก ให้แสดงเหตุผล หลักฐาน ต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อพิจารณาอนุญาต ส่วนผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัดอื่น ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้รับแจ้งจาก CM-CHANA โดยต้องสังเกตอาการตนเองอย่างใกล้ชิด (Self-monitoring) หากผิดปกติแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ทันที ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง เช่นกัน

คำสั่งที่ 49/2564 นี้ ยกเลิกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ที่ 40/2564 เรื่อง มาตรการควบคุมการเดินทางของบุคคลที่เดินทางเข้ามายังพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 20 เมษายน 2564 เพื่อให้กับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 22)

ซึ่งมีการปรับระดับการกำหนดพื้นที่สถานการณ์ กำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จึงต้องมีการแก้ไขปรับปรุงคำสั่งที่เคยออกก่อนหน้านี้ทั้งนี้เพื่อให้การกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด – 19 สอดคล้องกับพื้นที่สถานการณ์และข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 22 คำสั่งทั้ง 4 ฉบับประกอบด้วย

ปรับ 20,000 บาท ออกนอกบ้าน ไปที่สาธารณะ ไม่สวมหน้ากาก เจ้าหน้าที่เตือนไม่เชื่อฟัง คกก.โรคติดต่อเชียงใหม่ ออกคำสั่งย้ำให้ปฏิบัติเพื่อลดการแพร่ระบาดโควิด-19

ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่มีมติออกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 50/2564 เรื่อง มาตรการการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า คำสั่งนี้ให้ยกเลิกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ที่ 43/2564 และคำสั่ง ที่ 45/2564 ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า


เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ โดยต้องสวมให้ถูกวิธีตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและป้องกันมิให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะเพื่อจำกัดวงในการระบาดของโรค

เมื่อตรวจพบผู้ไม่สวมหน้าการ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือน และสั่งให้ผู้นั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง หากผู้นั้นไม่ปฏิบัติตาม ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ และคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

การออกคำสั่งฉบับนี้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ระบุว่า ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ที่ 43/2564 เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 25 เมษายน 2564 และคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ที่ 45/2564 เรื่อง มาตรการป้องกันและ ควบคุมโรคในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลงวันที่ 26 เมษายน 2564

กำหนดให้ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่ออยู่ในพื้นที่ไม่ปลอดภัย นั้น ต่อมานายกรัฐมนตรี ได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564 มีการปรับระดับการกำหนดพื้นที่สถานการณ์ กำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรืออยู่ในที่สาธารณะ ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด – 19 สอดคล้องกับพื้นที่สถานการณ์และข้อกำหนดข้างต้น

ขอหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน “ดำเนินมาตรการขั้นสูงสุด” ให้ Work from Home เพื่อลดการเดินทาง พร้อมขอความร่วมมือ “งดเดินทางออกนอกจังหวัดเชียงใหม่”

ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ออกประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ฉบับที่ 5 เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยระบุว่า ด้วยนายกรัฐมนตรี ได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 22) ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2564 มีการปรับระดับการกำหนดพื้นที่สถานการณ์ กำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการยกระดับในการป้องกันโรคทั้งจังหวัด โดยความร่วมมือของประชาชน อันจะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันลงให้เร็วที่สุด ดังนั้น ในคราวประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 58/2564 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 จึงมีมติเห็นชอบให้ขอความร่วมมือจากประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้

  1. ขอความร่วมมือให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ชะลอหรืองดการเดินทางออกนอกจังหวัด หรือภูมิลำเนาของตนเองโดยไม่มีเหตุจำเป็น เพื่อลดการเดินทางที่เสี่ยงต่อการติดโรค
  2. ขอให้มีการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง หรือ Work from Home โดยขอให้หัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาดำเนินมาตรการขั้นสูงสุด เพื่อมุ่งลดจำนวนการเดินทางของเจ้าหน้าที่และบุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบ ในการป้องกันและลดโอกาสเสี่ยงที่เจ้าหน้าที่และบุคลากรในความรับผิดชอบจะติดเชื้อเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 วัน ซึ่งอาจสั่งการให้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การลดจำนวนบุคคลที่ประจำอยู่ในสถานที่ตั้ง การสลับวันเวลาทำงาน หรือวิธีการอื่นใดตามความเหมาะสมโดยพิจารณาให้เพียงพอต่อภารกิจในการให้บริการประชาชน
คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่
คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่

Relate Posts :