พลิกโฉมประเทศไทย สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ด้านเทคโนโลยีอวกาศ 12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง “ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย”

6 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ จับมือ 6 สถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรม เกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศไทย สร้าง “ดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศ พัฒนาคน พัฒนาชาติ เปลี่ยนประเทศจาก “ผู้ซื้อ” เป็น “ผู้สร้าง” พร้อมดึงเอกชน หนุนสตารท์อัพ ยกระดับอุตสาหกรรมไทย สร้างแรงบันดาลใจให้คนในชาติ

“ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย”


ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานเลขานุการภาคีฯ กล่าวว่า ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย มีเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร ยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงในประเทศไทย การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จะเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรรุ่นใหม่ ได้ร่วมกันสร้างและพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กโดยใช้องค์ความรู้ภายในประเทศ เรียนรู้ ลงมือทำโดยตรง

ทดสอบและควบคุมการใช้งานโดยฝีมือคนไทย รวมถึงออกแบบ และสร้างอุปกรณ์ Payload เพื่อใช้งานด้านต่าง ๆ เช่น กล้องถ่ายภาพที่มีความสามารถในการถ่ายภาพในหลายความยาวคลื่น สามารถประยุกต์ใช้กับด้านการเกษตร การใช้พื้นที่ของประชากร และบรรยากาศ เราใช้กระบวนการพัฒนาดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ เป็นความท้าทายในการพัฒนาศักยภาพกำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศในประเทศไทย ยกระดับขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมอวกาศของไทย และสร้างแรงบันดาลใจใฝ่รู้ให้กับคนในชาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศ


ร่วมแรงร่วมใจพลิกโฉมประเทศไทยให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ ปานกลาง โครงการนี้ถือเป็นวาระแห่งชาติที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว เป็นโจทย์ที่ท้าทายการยกระดับองค์ความรู้ ของประเทศที่สำคัญมาก และจะพลิกโฉมประเทศไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน


ทั้ง 12 หน่วยงาน จะมีบทบาทสนับสนุนการทำงานของภาคีฯ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 5 ด้าน ได้แก่ งานวิศวกรรม งานแอพพลิเคชั่น งานวิจัยและพัฒนา งานสนับสนุนการศึกษา และงานสนับสนุนภาค อุตสาหกรรม โดยใช้โครงสร้างพื้นฐาน ห้องปฏิบัติการ ความเชี่ยวชาญ และกำลังคนที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่

“นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า ตลาดอุตสาหกรรมอวกาศทั้งโลกจะมีมูลค่าประมาณ 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นมูลค่าหลายเท่าของตลาดเซมิคอนดักเตอร์ในปัจจุบัน นับได้ว่าอุตสากรรมอวกาศอยู่ในช่วงขาขึ้น และไทยต้องใช้ห้วงเวลานี้ตักตวงโอกาสพัฒนาศักยภาพการผลิตให้ทันท่วงที เมื่อ 30 ปีก่อนไทยตกขบวนเซมิคอนดักเตอร์ แต่วันนี้เราจะไม่ตกขบวนอวกาศ” ดร. ศรัณย์ กล่าวปิดท้าย



ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม ประธานในพิธี กล่าวว่า เทคโนโลยีอวกาศ เช่น ดาวเทียมที่เป็น earth observation และยานอวกาศที่จะส่งไปโคจรรอบดวงจันทร์ ล้วนเป็นเรื่องที่ยาก ท้าทาย และผิดพลาดไม่ได้ เรื่องนี้ยิ่งใหญ่เกินกว่าคนๆ เดียว หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะรับมือได้ จำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และความร่วมมือจากหลายฝ่าย ที่จะนำองค์ความรู้ ความสามารถและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ มาร่วมทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ตาม แม้หนึ่งในเป้าหมายของ TSC คือไปดวงจันทร์ สิ่งที่เป็น output หลักคือผลพลอยได้ระหว่างทางไปเป้าหมายคือได้สร้างคนเก่ง สร้าง startup ที่จะเป็น seeds ของ supply chain ของ TSC สร้าง space economy ในประเทศให้เกิดขึ้นได้
วันนี้ ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นการผนึกกำลังเป็น ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย ของผู้เชี่ยวชาญ. ในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันอุดมศึกษา ที่จะร่วมมือกันพัฒนากำลังคน โครงสร้างพื้นฐาน และระบบนิเวศน์สำหรับพัฒนาเทคโนโลยีและเศรษฐกิจอวกาศของประเทศให้เกิดขึ้นและยืนหยัดต่อไปได้อย่างยั่งยืน


พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรม เกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564 ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม มาเป็นประธานในพิธีและร่วมเป็นสักขีพยาน

มีหน่วยงานร่วมลงนามทั้งสิ้น 12 หน่วยงาน ประกอบด้วย

หน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ 6 แห่ง และ สถาบันอุดมศึกษา 6 แห่ง ดังนี้

  1. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
  2. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  3. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  6. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  7. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  8. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  9. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  10. มหาวิทยาลัยมหิดล
  11. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  12. สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

งานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
โทร. 053-121268-9 ต่อ 210-211 , 081-8854353 โทรสาร 053-121250
E-mail: [email protected] Website : www.narit.or.th
Facebook : www.facebook.com/NARITpage
Twitter : @NARIT_Thailand, Instagram : @narit_thailand

Relate Posts :

*nap ได้กลับมาแล้ว เป็น *nap ครั้งที่ 22 ที่ถนนนิมมานเหมินท์ ซอย 1

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine*nap 2022 We are Back! เชียงใหม่อากาศเริ่มจะเย็นแล้ว มาเที่ยวเชียงใหม่ต้นเดือนธันวาคมนี้ ชวนมาชมเที่ยวงาน *nap  (นิมมานเหมินท์ อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ พรอเมอนาด) ครั้งที่ 22 ตั้งแต่วันที่ 3-11 ธันวาคม 2565 ที่ถนนนิมมานเหมินท์ ซอย 1 งาน *nap (นิมมานเหมินท์ อาร์ต แอนด์ ดีไซน์ พรอเมอนาด) เว้นว่างไป 1 ปี เมื่อปีที่ผ่านมาด้วยสถานการณ์โควิด-19 และปีนี้ งาน *nap ได้กลับมาแล้ว เป็น *nap ครั้งที่ 22 โดยการจัดงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มร้านค้าย่านถนนนิมมานเหมินท์ ซอย 1, โครงการ One Nimman และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ […]

Arr

November 30, 2022

เชิญชวนนักเรียนเยาวชน และผู้ที่สนใจร่วมงาน มหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น 2565

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และเครือข่าย วันที่ 7-9 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ “ภายในงานพบกับกิจกรรม ดังนี้” งานแข่งขันทักษะทางวิชาการระดับภาคเหนือ พบกับ…   นิทรรศการทางวิชาการ   เวทีแสดงความสามารถ   การประกวดการแข่งขันทักษะทางวิชาการ งานส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ของพลเมืองเชียงใหม่ พบกับ…    นิทรรศการ เครือข่ายการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่    นิทรรศการการเรียนรู้สู่โลกอนาคต    นิทรรศการส่งเสริมสัมมาชีพระหว่างเรียน    การแสดงความสามารถของนักเรียนนักศึกษา  งานสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์พื้นถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ พบกับ…    นิทรรศการจำลองวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ของกลุ่มชาติพันธ์ุ    กิจกรรมWorkshop ของกลุ่มชาติพันธ์ุ    การแสดงศิลปะวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ุ    การจำหน่ายสินค้า งานหัตถกรรมและอาหารกลุ่มชาติพันธ์ุ “ จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และเครือข่าย”      เนื่องด้วยสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นส่วนราชการส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษ ในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย งานบริหารวิชาการด้านการศึกษา งานโรงเรียน งานกิจการนักเรียน […]

โปรเหนือ pronuea

July 29, 2022

กิจกรรมพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนออกสู่เชิงพาณิชย์

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนออกสู่เชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน รับสมัคร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และ วิสาหกิจชุมชน 7สาขา อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมเซรามิคและแก้ว สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร อุตสาหกรรมสนับสนุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่กำกับดูแลของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 (8 จังหวัดภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน สแกนสมัครกิจกรรม Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine

aum

June 16, 2022

BaanBaan.co จับมือ ReviewChiangmai เปิดตัว ‘BaanBaan Northern’ เว็บไซต์เพื่อคนหาบ้าน บุกตลาดภาคเหนือ ดันศักยภาพด้วย Property Tech

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineBaanBaan.co เว็บไซต์บริการข้อมูลเกี่ยวกับโครงการบ้านและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการอยู่อาศัยที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่งในภาคอีสาน ประกาศจับมือ ReviewChiangmai ร่วมเปิดตัว ‘BaanBaan Northern’ ขยายการให้บริการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ดันศักยภาพด้วย Property Technology พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ในภาคเหนือ BaanBaan.co เปิดตัวเมื่อต้นไตรมาสที่ 2 ปี 2563 จัดตั้งโดยบริษัท Createder บริษัทด้านเทคโนโลยีที่ก่อตั้งในจังหวัดนครราชสีมา เริ่มต้นด้วยการให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับโครงการบ้านและอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และอุบลราชธานี ซึ่งได้รับผลตอบรับจากผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัยพ์และคนที่สนใจภาคอีสานเป็นอย่างดี สำหรับ ReviewChiangmai คือผู้สร้างสรรค์ และส่งมอบ Content สู่ผู้ติดตามรวมทุกแพลตฟอร์มกว่า 1.3 ล้านคน จึงมีความเชี่ยวชาญ รู้ลึกเรื่องเชียงใหม่ เข้าใจ insight คนภาคเหนือเป็นอย่างดี เป็นอีกช่องทางที่จะเข้ามาช่วยในการเข้าถึง คนหาบ้าน และกระจายข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ในภาคเหนือให้มากขึ้น พัฒนาโดยทีม GoGo Digital ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล และรับดูแลการตลาดให้กับ Startup ในเชียงใหม่ กว่า 5 แบรนด์ การจับมือของ […]

romchut

November 19, 2021

NIA เปิดตัวสำนักงานภาคเหนือ ผลักดันเชียงใหม่สู่การเป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาค ภาคเหนือ

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดสำนักงานภาคเหนือ NIA Northern Regional Connect เดินหน้าต่อยอดการผลักดันเชียงใหม่ไปสู่การเป็นจังหวัดศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาค ภาคเหนือ เพื่อทำหน้าที่เป็น System Integrator ในการเชื่อมโยงส่วนราชการท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน และชุมชน โดยจะร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เช่น เทศบาล มหาวิทยาลัย อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค หรือ อว.ส่วนหน้า ในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาขับเคลื่อนนวัตกรรมระดับภูมิภาค รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า หนึ่งในภารกิจของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. คือ ต้องการมุ่งเน้นการขับเคลื่อนประเทศให้เปลี่ยนแปลงไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของคน และการนำเอาองค์ความรู้แบบบูรณาการศาสตร์ ผนวกกับงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาค ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายในหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษาและภาคเอกชน ที่พร้อมจะช่วยกันพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในพื้นที่ภูมิภาคให้พร้อมเติบโตและสามารถสร้างนวัตกรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของประเทศ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยมี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ […]

โปรเหนือ pronuea

September 15, 2021