Chiang Mai Food Festival

Chiang Mai Food Festival “เริงปอย ตอยคัวกิน”

Chiang Mai Food Festival งานนีมีอะไร 27-28 มกราคมนี มาพบกับโภชนบันเทิง ให้คุณได้ “เริงปอย ตอยคัวกิน” มาทีเดียวเหมือนได้เทียวทัวเชียงใหม่ งานนี้ ได้ทั้งอิ่ม ทั้งสาระทีมคนออกงานทุ่มกันสุดตัวมากจริงๆ มาค่ะ มาเดินทางเทียวเชียงใหม่ในมิติของอาหารไปด้วยกัน

Chiang Mai Food Festival

เพราะรักแห่งอาหารคือรักที่ไร้พรมแดน

จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองที่สมบูรณ์ด้วยอาหารการกินจากหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง และกลุ่มคนไทในพื้นที่ราบ ถึง 12 ชาติพันธุ์ และยังมีชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเชียงใหม่ ทั้งชาวญี่ปุ่น เกาหลี จีน อเมริกัน เยอรมัน อังกฤษ และอีกมากมาย พวกเขาต่างนำวัฒนธรรมอาหารของตนเองมาด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความหลากหลายของผู้ผลิตอาหารในหลายสัญชาติ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายเล็กๆ กลายเป็นเสน่ห์ของเชียงใหม่ที่สามารถทำให้ได้ลิ้มลองอาหารหลากหลายสัญชาติจากการมาเชียงใหม่เพียงที่เดียว

เทศกาลอาหารนานาชาติเชียงใหม่ Chiang Mai Food Festival จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และเส้นทางท่องเที่ยวอาหารเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้ทั้งคนเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวได้ทำความรู้จักและเข้าใจในอาหารท้องถิ่น และความเป็นพหุวัฒนธรรมของเชียงใหม่ ทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิตอาหาร ผู้แปรรูปอาหาร และกลุ่มผู้ผลิตเครื่องดื่มรายย่อยให้มีพื้นที่ในการแสดงสินค้า อันจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าให้กับอาหารท้องถิ่น สู่การกระจายรายได้สู่ชุมชน ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและผลัดดันนโยบายของ Soft Power 5F (F : Food) ให้ “อาหาร” เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว

Chiang Mai Food Festival จัดขึ้น ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ในวันที่ 27-28 มกราคม 2567 ตั้งแต่เวลา 10.00 น.-22.00 น. ภายในงานจะได้พบกับบูธอาหารไทย อาหารเมือง อาหารนานาชาติ อาหารจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อาหารนวัตกรรม กลุ่มร้านอาหาร Green Kitchen และ Green Farm เครื่องดื่มจาก Brewer ท้องถิ่น ร้านจำหน่ายสินค้าทำมือรักษ์โลก การสาธิตการทำอาหาร กิจกรรมเสวนาเรื่องอาหาร พูดคุยกับเจ้าของร้านอาหาร ผู้รู้ ผู้ประกอบการด้านอาหาร ผู้ผลิตคราฟต์ดริ้ง การแสดงทางวัฒนธรรมและการแสดงดนตรีจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และกิจกรรมเวิร์กชอปมากมาย ตลอดทั้ง 2 วัน  

นอกจากนี้ Chiang Mai Food Festival ยังได้ร่วมกับ LOMO (Local Mobility) จัด City Gastro Tour ภายใต้กิจกรรม “กองกีดทัวร์” พาเที่ยวตามตรอกเล็กซอยน้อยด้วยรถไฟฟ้า ไปรู้จักอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในตัวเมืองเชียงใหม่ อาทิ ชุมชนวัดพันแหวน ชุมชนล่ามช้าง ชุมชนศรีสุพรรณ ชิมอาหารบ้านตึก ฟิวชั่นอาหาร 5 เชียง ที่ร้านเอื้องคำสาย 

การท่องเที่ยวเชิงอาหารจึงเป็นการท่องเที่ยวที่สามารถเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ อีกทั้งเทศกาลอาหารยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถทำความรู้ความเข้าใจเรื่อง

อาหารท้องถิ่น และความเป็นพหุวัฒนธรรมของเชียงใหม่ได้อย่างรวดเร็ว … มาร่วมงาน Chiang Mai Food Festival เพียงงานเดียว เหมือนได้เดินทางไปชิมอาหารทั่วเชียงใหม่

โดยการจัดงานในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ เชียงใหม่กรีนคิทเช่น โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) สภาอาหารจังหวัดเชียงใหม่ เขียวสวยหอม โอล์ดเชียงใหม่ (ศูนย์วัฒนธรรม) ร้านอาหารเอื้องคำสาย บริษัทโอเชียนกลาส (มหาชน) จำกัด บริษัท ซีเจเอสซัพพลาย จำกัด โรงแรมเชียงใหม่มาริออทโฮเทล โรงแรมมีเลียเชียงใหม่ ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต ภัตตาคารเจี่ยท้งเฮง บริษัทฮิลคอฟฟ์ จำกัด กลุ่มเชียงใหม่ทัช โกทูอาสค์แอน (ถามแอน)

รายละเอียดกิจกรรม

A Zone : “กองกีดทัวร์

เที่ยวตามตรอกเล็กซอยน้อยของเชียงใหม่ ด้วยรถไฟฟ้า (3 ชั่วโมง) เทียวเมืองเก่า กินอาหารคนไต ไปชมพิพิธภัณฑ์ Kalm แกะสูตรอาหารเมืองทีกําลังสูญหาย คือไข่ควํากับนําตับ

เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในชุมชน Chiang Mai Food Festival ร่วมกับ LOMO (Local Mobility) จัด City Gastro Tour ภายใต้ชื่อกองกีดทัวร์ เพื่อพาคุณไปรู้จักอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ไท ในตัวเมืองเชียงใหม่

รอบเช้า จุดขึ้นรถที่ศูนย์วัฒนธรรม
2. เที่ยวชุมชนวัดพันแหวน ชิมอาหารไทลื้อไทเขินในตลาดประตูเชียงใหม่ เที่ยว Kalm Museum เที่ยววัดพันแหวน
3. ไปชมต้นโพธิ์ต้นแรกที่พญามังรายปลูกที่วัดกาละก้อด 
4. ทำไข่คว่ำ น้ำตับ เมนูที่กำลังสูญหาย กับแม่แอ ที่ชุมชนล่ามช้าง
5. เที่ยวชุมชนศรีสุพรรณ ลองทำขันเงินของตัวเอง 

* กลับมาที่เอื้องคำสาย ชิมอาหารบ้านตึก ฟิวชั่นอาหาร 5 เชียง

โดยจุดขึ้นรถอยู่ด้านหน้างาน พร้อมขายบัตรลดท่องเที่ยวชุมชนที่เดินทางไปยังนอกเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 

รอบบ่าย จุดขึ้นรถที่ศูนย์วัฒนธรรม

1. เที่ยวชุมชนวัดพันแหวน เที่ยว Kalm Museum เที่ยววัดพันแหวน
2. ไปชมต้นโพธิ์ต้นแรกที่พญามังรายปลูกที่วัดกาละก้อด 
3. ทำไข่คว่ำ น้ำตับ เมนูที่กำลังสูญหาย กับแม่แอ ที่ชุมชนล่ามช้าง 
4. เดินกาดก้อม พื้นที่ตะแลงแกงประหารนักโทษของเชียงใหม่ที่ปัจจุบันเป็นตลาดที่มากด้วยพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ไท พาไปชิมอาหารเมือง ไทลื้อ ไทใหญ่ 
5.เที่ยวชุมชนศรีสุพรรณ ลองทำขันเงินของตัวเอง

* กลับมาที่เอื้องคำสาย ชิมอาหารบ้านตึก ฟิวชั่นอาหาร 5 เชียง

โดยจุดขึ้นรถอยู่ด้านหน้างาน พร้อมขายบัตรลดท่องเที่ยวชุมชนที่เดินทางไปยังนอกเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 

B Zone อาหารเมืองและอาหารไทยหลากหลายภาค

การจัดแสดงนิทรรศการและการออกร้านของร้านค้าที่ขายอาหารเหนือ อาหารแปรรูป และวัตถุดิบอาหารเหนือ

C Zone International Food

การจัดแสดงนิทรรศการอาหารและการออกร้านอาหารตะวันตก โดยร้านอาหารและ โรงแรมชั้นนำในเชียงใหม่  

D Zone อาหารกลุ่มชาติพันธุ์

จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองที่สมบูรณ์ด้วยอาหารการกินจากหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง และกลุ่มคนไทในพื้นที่ราบ ถึง 12 ชาติพันธุ์ งาน Chiang Mai Food Festival จึงได้รวบรวมวัฒนธรรมอาหารจากชาติพันธุ์บางส่วนให้คุณได้มมาลิ้มลอง รวมไปถึงอาหารจากเพื่อนบ้านที่เราไม่ค่อยรู้จักอย่างเมียนมาร์ 


ชุมชนไทเขินบ้านสันก้างปลา

กล่าวกันว่าชาวไทเขินบ้านสันก้างปลาเป็นคนเคยอาศัยอยู่แถบแม่น้ำขึนในรัฐฉาน ที่เข้ามาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนกลุ่มใหญ่ในช่วงนโยบายเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมืองของพระเจ้ากาวิละ ชาวไทเขินกระจายตัวไปอาศัยอยู่ในเขตอำเภอสันกำแพง ดอยสะเก็ด สันทราย สันป่าตอง

ที่ชื่อว่าบ้านสันก้างปลาเพราะมีชาวไทเขินกลุ่มหนึ่งมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สันกำแพงบริเวณที่มีต้นก้างปลาขึ้นอยู่มาก เมื่อแผ้วถางสร้างบ้านเรือนแล้วจึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามต้นไม้ที่มีมากในหมู่บ้านเวลานั้น จึงเรียกว่า “บ้านสันก้างปลา” ชาวบ้านสันก้างปลาในยุคแรกๆ ก็ทำอาชีพเกษตรกรรม การกินอยู่ก็ปลูกผักกินเอง และหาปูปลาตามคลอง ดังนั้น อาหารของชาวไทเขินบ้านนี้จึงเป็นอาหารที่ประกอบด้วยผักที่ขึ้นตามรั้วบ้านผักที่ปลูกเอง ไม่ค่อยกินเนื้อสัตว์กันมากนัก ส่วนใหญ่จึงปรุงอาหารด้วยปลา ในงานนี้ ชาวบ้านสันก้างปลาจึงนำเอาอาหารของบ้านตัวเองมาโชว์ คือ ขนมเส้นปลาแห้ง แกงแคบก และขนมลิ้นหมา พร้อมกับเรื่องราวของหมู่บ้านวัฒนธรรมไทเขิน มาจัดแสดง

ชุมชนไทยองบ้านป่าตาล

ชุมชนวัดป่าตาลมีประวัติยาวนานมากกว่า 200 ปี มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่าพื้นที่บริเวณวัดแต่เดิมเป็นวัดร้าง จนกระทั่งมีสองตายายมาแผ้วถางปลูกผักและได้พบเจดีย์เก่า จึงมีการบูรณะวัดนี้ขึ้น จากนั้นก็มีกลุ่มชาวไทยองเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ที่เรียกว่า “บ้านป่าตาล” เพราะบริเวณนี้แต่เดิมมีต้นตาลขึ้นหนาแน่น ชุมชนบ้านป่าตาลเป็นชุมชนเข้มแข็งที่ยังคงรรักษาอัตลักษณ์ของตัวเองได้อย่างเหนียวแน่น ที่นนี่เป็นแหล่งผลิต ข้าวแคบ น้ำหนัง หนังปอง และของอร่อยหากินยากอย่างน้ำพริกนน้ำผัก นอกจากนี้ยังมีกลุ่มช่างทอผ้าไทยอง และ กลุ่มทำสมุนไพรภูมิปัญญาวิถียองที่จะนำเอาของมาเข้าร่วมในครั้งนี้อีกด้วย

ชุมชนไทยวนบ้านออนใต้

“ออนใต้” บ่้านจุ่้มเมืองเย็น มีแม่น้ำไหลผ่านในหมู่บ้านหลายสาย เป็นชุมชนที่ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ีดี ที่ชุมชนนี้ปลูกผักปลอดสารเกืือบทั้งหมู่บ้าน และเลี้ยงไก่อารมณ์ดีี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว กลุ่มชุมชนออนใต้จะอาหารที่โดดเด่นของชุมชนคือ “หมูฮ้อยมะแขว่น”  รวมไปถึงงานหัตถกรรมที่โดดเด่นมารร่วมด้วย 

ชุมชนม้งบ้านดอยปุย

หมู่บ้านดอยปุยนั้นก่อตั้งหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง 1 ปี คือ พ.ศ. 2489 ด้วยความที่ชุมชนนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ไม่ไกลเมืองมากนัก จึงเป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยว วิถีดั้งเดิมของชาวบ้านที่นี่คือปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และฝิ่น จากนั้นในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเมืองหนาวทดแทน ที่ยังมีขายในปัจจุบันคือ กาแฟ สตรอเบอร์รี่ และท้อ มีการส่งเสริมเรื่องสหกรณ์และการค้าขาย จึงมีสินค้ามาขายให้นักท่องเที่ยวมากขึ้น และมีกลุ่มชาติพันธุ์ฮ่อเข้ามาค้าขายอยู่ที่ดอยปุย เกิดเป็นชุมชนในตลาดที่ใหญ่ขึ้น แต่ภายในหมู่บ้านนั้น 90%เป็นชาวม้ง ครั้งนี้พี่น้องชาวม้งดอยปุย จะนำเอากาแฟที่ปลูกบนดอยปุยมมาให้เราได้ลองชิม และสาธิตการทำข้าวปุก นอกจากนี้ยังเอาอาหารแปรรูปจากดอยปุยลงมาขายด้วย พร้อมทั้งนำเสนอเรื่องราวของการรักษาสุขภาพแบบ Wholistic ที่เรียกว่ากินดีอยู่ดีวิถีม้ง มาแบ่งปันกับเราด้วย

ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านดอยหลวง 

บ้านดอยหลวงนั้นอยู่ลึกเข้าไปบนดอย จนยากจะเชื่อว่าในพื้นที่ที่เข้าถึงยากแห่งนี้มีผู้คนอาศัยอยู่มานานกว่า 300 ปี ปัจจุบันทั้งดอยหลวงและดอยแก้วก็ยังไม่มีไฟฟ้า ยังคงใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาเซลและพลังงานทดแทนอยู่ การเดินทางต้องอาศัยคนพื้นที่ที่ชำนาญนำทางเข้าไปเท่านั้น โดยการเดินทางจะขึ้นไปยังจุดสูงสุดของดอยหลวงก่อนเพื่อชมพระอาทิตย์ตกยามเย็นในวิว 360 องศา พื้นที่ของดอยหลวงจึงเหมาะแก่การปลูกกาแฟ มีสิ่งที่หายากในปัจจุบันนี้คือเห็ดลมที่สำคัญมีข้าวเบอะที่แซ่บอร่อยมาก ชาวบ้านดอยหลวงจึงอยากชวนคุณมาชิมข้าวเบอะ กระบองเห็ดลม ซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน จิบกาแฟของบ้านนดอยหลวงด้วยกัน

ราเมนจากวัตถุดิบอาข่า 

สิหมะ หรือส้มผด ที่ต่างประเทศมีเครื่องเทศที่ใกลเคียงคือ Sumec นอกจากนี้ยังมีเครื่องเทศและวัตถุดิบอื่นๆ จากดอยสูงทที่สามารถนำมาใช้ประกอบอาหาร เกิดเป็นราเมน แบบใหม่ที่มีกลิ่นอายของชาวอาข่า พร้อมเครื่องดื่มที่ทำจากวัตถุดิบของกลุ่มชนอาข่า โดย บ้านอาชิ เชียงดาว

ชุมชนชาวเมียนมารืในเชียงใหม่

วััฒธรรมอาหารพม่า หรืือ เมียนมาร์เป็นวัฒนธรรรมที่อยู่ใกล้ตััวเรามาก แต่กลับเพื่อนบ้านที่เราไม่รู้จัก อาหารพม่ามีความหลากหลายเนื่องจากมีชาติพันธุ์ที่หลากหลาย แต่วัฒนธรรมรร่วมอย่างหนึ่งคือวัฒนธรรรมชา ตัั้งแต่การชงชา ไปจนกระทั่งการทำข้าวเส้นข้าวซอย ชุมชนนเมียนมาร์กลุ่มหนึ่งในเชียงใหม่มารวมตัวกัน จำลองตลาดน้ำของพม่าให้เราได้ลิ้มลองอาหาร ตั้งแต่ตลาดเช้า เริ่มเวลา 10.00-14.00น. และตลาดเย็น เริ่ม 15.00-22.00 น. รอบละ 5ร้าน พวกเขาจะมามอบความอร่อยของอาหารแถบริมแม่น้ำอินเล ให้คุณได้ลิ้มลองอย่างเต็มอิ่ม

E Zone นวัตกรรมและความรู้ด้านอาหาร

จัดแสดงเรื่องความรู้ด้านอาหารโดยสถานศึกษาต่างๆ
อาทิ การจััดแสดงเรืื่องรราวเกี่ยวกับการถนอมอาหารและการแปรรูปอาหาร การผลิตอาหารเสริมหรืออาหารเพืื่อสุขภาพ การกินอยู่อย่างมีความรู้
– ให้ความรู้เรื่องอาหารและนวัตกรรรม โดยศูนย์นวัตกรรมมอาหารและบรรจุภัณฑ์ ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์

– นวัตกรรมการทำน้ำปู๋ผง และถั่วเน่าผง โดยสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล 

– นิทรรศการของกลุ่ม Green Kitchen

– นิทรรศการของสภาอาหารและสุขภาพ 

– นิทรรศการของ Food Forest โดย บริษัทฮิลคอฟฟ์ จำกัด


– นิทรรศการจากวิสาหกิจชุมชนจานใบไม้ในสวน

F Zone Green Kitchen & Rimping Groceries

Green Kitchen
จากการทำงานร่วมกับภาคเกษตรกรรายย่อย และทำงานร่วมกับร้านอาหารชั้นนำในเชียงใหม่ โดยโครงการ Chiang Mai Green Kitchen ได้ทำการตรวจวัตถุดิบร้านอาหารที่ยินดีเข้าโครงการ โดยมีจำนวนร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 44 ร้าน และได้มอบตราสัญลักษณ์ Green Kitchen ให้กับร้านดังกล่าวที่ถือเป็น กลุ่มเริ่มต้นในการผลักดันให้เชียงใหม่เป็นเมืองอาหารปลอดภัย

เพื่อให้เกิดการต่อยอดในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนโต๊ะอาหาร ในปี 2023 นี้ โครงการ Chiang Mai Green Kitchen จึงก้าวไปอีกขั้นด้วยการตรวจหาสารเคมีในเนื้อสัตว์ต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงฟาร์มที่ปลอดภัยให้กับร้านอาหาร ให้พื้นที่บนโต๊ะอาหาร เขียวขึ้นอีกขั้น ด้วยการมอบดาวที่ 2 ให้กับร้านอาหารที่ใช้เนื้อปลอดภัย

กิจกรรม

  • มอบใบประกาศนียบัตรให้กับร้านอาหารที่เข้าร่วมกับโครงการ Green Kitchen จำนวน 44 ร้าน

    โดยร้านที่ ได้ 1 ดาว คือร้านที่ใช้ผักอินทรีย์มากกว่า
    70% ของจำนวนที่ใช้ประกอบอาหารภายในร้าน ร้านที่ได้ 2 ดาวคือร้านที่ใช้โปรตีนที่ไม่มีสารเคมีตกค้างมากกว่า 70% ของจำนวนทีี่ใช้ประกอบอาหารภายในร้าน และการมอบประกาศนียบัตรให้กับร้านอาหารที่เข้าร่วม Sustainable and Healthy Food Program ที่รังสรรค์เมนูพิเศษที่เชื่อมโยงจากฟาร์มผักสู่เมนูอาหารเพื่อคนรักสุขภาพ
  • ตรวจเลือดหาสารตกค้าง และกิจกรรมถามตอบด้านปัญหาสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ศรีพัฒน์
  • กิจกรรมจากรถถชำเปลี่ยนโลก การทำ Blind tasting เครื่องปรุงต่างๆ
  • การออกร้านของร้านอาหารในเครือข่าย Green Kitchen และสินค้าการเกษตรจาก Green Farm
  • การเสวนา อาหารสีเขียว

G Zone: Workshops

เปิดสอนศิลปะที่เกี่ยวกับอาหารคอร์สสั้นๆ
1. Artisan Workshop 

– สอนการเคลือบเครื่องปั้นด้วยเทคนิครากุ โดย กลุ่มปั้นดินบ้านเหมืองกุง

– สอนวาดภาพอาหารด้วยสีน้ำ กับครูไก่

– สอนการทำลวดลายผ้าแบบ Ecoprint โดยร้าน Nature Passion

2. Food Solution Workshops 

– สนุกกับการทำอาหารด้วย Thermomix เครื่องครัวแห่งอนาคต กับเชฟ นิค วิพิทธิจักษ์ พิทยานนท์

– สอนการทำอาหารอิตาเลียน โดยกงสุลอิตาลี

H Zone: Artisan Food Market และเครื่องดื่ม

เชียงใหม่เป็นเมืองที่สมบูรณ์ด้วยอาหารการกินจากหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง และกลุ่มคนไทในพื้นที่ราบ ถึง 12 ชาติพันธุ์ และยังมีชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเชียงใหม่ ทั้งชาวญี่ปุ่น เกาหลี จีน อเมริกัน เยอรมัน อังกฤษ และอีกมากมาย พวกเขาต่างนำวัฒนธรรรมอาหารของตนเองมาด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความหลากหลายของผู้ผลิตอาหารในหลายสัญชาติ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายเล็กๆ กลายเป็นเสน่ห์ของเชียงใหม่ ที่สามารถทำให้ได้ลิ้มลองอาหารหลากหลายสัญชาติจากการมาเชียงใหม่เพียงที่เดียว

Highlights

  • กิจกรรรมสนุกๆ จากรถชำเปลี่ยนโลก และเลือกซื้อเครื่องปรุงวัตถุดิบจากชุมชน 
  • Mini Pop Up Exhibition จาก Madre Brava Foundation
  • Live Fire Cooking โดย ร้าน Bucoliq และ BurgerLab
  • Homemade Cheese ขนมปัง แยม และอาหารหลากหลายจากผู้ผลิตอาหารรายเล็กในเชียงใหม่
  • อาหารนานาชาติ อาทิ บาร์บีคิว เบอร์เกอร์ โคลด์คัท โฮมเมด
  • Crafted Drinks อาทิ คราฟท์ไซรัป คราฟท์โคลา คราฟท์เบียร์ โซจู สาเก และสปิริต 
  • Food Show การสาธิตการทำอาหารจากเชฟชั้นนำในเชียงใหม่ 
  • จับฉลากเล่นเกม

I Zone: Cross Roads Stories of Food Beyond Borders

Cross Road Cuisine บอกเล่าเรื่องราวของอาหารที่ เกิดการ หยิบยืม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ในดินแดนสุวรรณภูมิ ผ่าน 7 จาน 14 คำ ของเชฟ LADY GOO GOO (Phyu-Cyn) เชฟแห่งลุ่มแม่น้ำอิรวดี และเชฟแนน รินเมธ ไทยสุชาติ เขยแม่ระมิงค์ 

เชฟสองสัญชาติจะพาคุณทลายพรมแดน ข้ามกาลเวลาไปยังช่วงเวลาที่แห่งการค้าขายนานาชาติ การค้าขายทางเท้าและทางน้ำ การแลกเปลี่ยนสินค้าที่นำมาซึ่งวัฒนธรรมใหม่ๆ วัตถุดิบใหม่ๆ เทคนิคการทำอาหาร เกิดภูมิปัญญาอาหารที่คล้ายคลึงกันแตกต่างกันเพียงรายละเอียดเล็กน้อย 

พบกับไฮไลต์เมนูวัฒนธรรมร่วม

วัฒนธรรมการทำอาหารร่วม เช่น การทำปลาแม่น้ำด้วยการใช้อุณหภูมิร่างกายและน้ำมะนาว ที่เรียกว่า Mon Ceviche ที่คล้ายกับลาบปลาฟั่นส้มดอยเต่า 

-วัฒนธรรรมใบชาในอาหารทั้งการยำใบชาที่เรียกว่าลาเพ็ตโตะแบบพม่า และการนำใบเมี่ยงมาทำส้มตำ

-แกงชาชูฮังเลแบบมันดาเลย์ และบะหมี่แบบไหหลำ แกล้มผักดอง และอีกมากมาย

  • จานชามดินจากเหมืองกุง จากฝีมือของชุมชนนักปั้นที่มีรากเหง้ามาจากเมืองปุ เมืองสาตร จากเชียงตุง ที่ทำงานออกแบบร่วมกันกับเชฟ สร้างเป็น Collection Crossroads สามารถซื้อชุดจานกลับบ้านได้

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวเหนือพรมแดนบนโต๊ะอาหาร ในงานเทศกาลอาหารนานาชาติ Chiang Mai Food Festival ณ เฮือนซ้อหงษ์ เริ่ม เวลา 17.30 น

Relate Posts :