รู้ไว้ใช่ว่า 5 ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา

ประเพณีลอยกระทงหรือที่ชาวล้านนาเรียกกันว่าประเพณียี่เป็ง เป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดปฏิบัติกันมาช้านาน ว่ากันว่าได้รับอิทธิพลมาจากพิธีพิธีตามประทีปหรือทีปาวลีของอินเดีย เพื่อเป็นการบูชาพระพรหม พระอิศวร และพระนารายณ์ ซึ่งพอเมืองเราไทยรับเอาคติความเชื่อดังกล่าวนี้มาปรับกับวิถีชีวิตท้องถิ่นที่เป็นเมืองกสิกรรม เลยกลายเป็นการลอยกระทงเพื่อขอขมาพระแม่คงคา เนื่องจากการเกษตรต้องอาศัยน้ำเป็นปัจจัยหลักสำคัญในการเพาะปลูก แต่ถึงอย่างนั้นประเพณียี่เป็งของชาวล้านนาก็มีความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นที่ทำให้เทศกาลลอยกระทงของที่นี่ต่างจากภูมิภาคอื่นๆ

สั่งซื้อ ผางประทีป​ เทียนลอยกระทง ประทีปเชียงใหม่ https://shope.ee/508mxGJVAO ส่งถึงบ้าน


1. ประตูป่า

ตามวัดต่างๆ ทั่วเชียงใหม่ จะตกแต่งทางเข้าประตูป่า เพื่อต้อนรับประเพณียี่เป็ง

ถ้าใครมาเที่ยวเชียงใหม่ช่วงก่อนเทศกาลลอยกระทงสักประมาณ 1-2 วัน จะเห็นหน้าบ้าน วัด บริษัท หรือบางสถานที่ มีซุ้มประตูที่ทำจากต้นกล้วยหรือต้นอ้อย ประดับด้วยโคมไฟพื้นเมืองหรือโคมยี่เป็ง อาทิ โคมรังมดส้ม โคมไห โคมกระจัง โคมดาว โคมกระบอก โคมเงี้ยว โคมแอว โคมญี่ปุ่น และดอกไม้ไทย เช่น ดอกดาวเรือง ดอกบานไม่รู้โรย ดอกรัก นั่นคือประตูป่า ซึ่งตามความเชื่อของคนล้านนา ประตูป่าคือเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมือง เนื่องจากชาวล้านนาส่วนใหญ่นิยมฟังมหาเวสสันดรชาดก และว่ากันว่าหากใครฟังครบ 13 กัณฑ์ จะเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและบ้านเมือง หากตัดเรื่องความเชื่อดังกล่าวแล้ว ประตูป่าเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการร่วมแรงร่วมใจของคนในบ้าน ในบริษัท หรือในชุมชน ที่มาช่วยกันทำและประดับตกแต่งซุ้มประตูให้สวยงาม ในบางพื้นที่มีการประกวดประตูป่าด้วย

ตามสถานที่ต่างๆ ก็มีการตกแต่งให้เข้ากับช่วงเทศกาลด้วย
โคมพื้นเมืองที่นิยมนำมาประดับประตูป่า ราคามีตั้งแต่ 15-50 บาท
โคมรังมดส้มสีสันต่างๆ สำหรับตกแต่งประตูป่า

2. ผางประทีป

ผางประทีปจุดให้แสงสว่างประจำค่ำคืนลอยกระทง

นอกจากลอยกระทงแล้ว กิจกรรมที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับชาวล้านนาในคืนยี่เป็ง นั่นคือการจุดผางประทีป คำว่า ผาง คือภาชนะดินเผาที่มีลักษณะคล้ายถ้วยเล็กๆ สำหรับใส่ขี้ผึ้งหรือน้ำมัน และเส้นฝ้ายสำหรับจุดไฟ ส่วนประทีป คือแสงสว่าง การจุดผางประทีปเกิดจากตำนานแม่กาเผือก เพื่อเป็นพุทธบูชาพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) และพระศรีอริยะเมตไตร โดยเชื่อกันว่าเป็นการจุดบูชาเพื่อตอบแทนบุญคุณให้แก่ผู้มีพระคุณ ซึ่งชาวล้านนายึดถือสิบต่อกันมาว่าการจุดผางประทีปเป็นการสักการะต่อสรรพสิ่งที่เราได้ใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น ประตูบ้าน กำแพง หน้าต่าง บันได อีกทั้งเชื่อว่าแสงสว่างของประทีปจะช่วยให้เกิดสติปัญญา มีแต่ความเฉลียวฉลาด มีแสงนำทางชีวิตให้มีแต่ความเจริญก้าวหน้า พอถึงช่วงเทศกาลยี่เป็งทุกบ้านทุกหลังคาเรือนในภาคเหนือ จึงเต็มไปด้วยแสงสว่างของผางประทีป นอกจากนี้บางแห่งยังมีการสาธิตและให้นักท่องเที่ยวได้ลองทำผางประทีป เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวช่วงลอยกระทงอีกอย่างหนึ่งด้วย


สั่งซื้อ ผางประทีป​ เทียนลอยกระทง ประทีปเชียงใหม่ https://shope.ee/508mxGJVAO

เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ในประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา
ผางประทีปมีให้เลือกหลากหลายขนาด ตามแต่ความต้องการ บางที่ก็ทำขึ้นมาเอง

3. บอกไฟ

บอกไฟน้ำต้นหลากหลายขนาด เป็นของที่ขาดไม่ได้เช่นกัน

ตามธรรมเนียมของชาวล้านนา เมื่อถึงประเพณียี่เป็ง ตามวัดวาอารามต่างๆ จะเตรียมกันทำดอกไม้ไฟหรือบอกไฟ เพื่อใช้จุดเป็นพุทธบูชา บูชาพระเกศแก้วจุฬามณี จุดบูชาประกอบพิธีเทศน์มหาชาติหรือตั้งธรรมหลวง และให้เด็กๆ ได้เล่นสนุกสนานกัน ซึ่งดอกไม้ไฟที่นิยมเล่นกันในช่วงคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง ส่วนใหญ่เป็นดอกไม้ไฟที่มีประกายแสงสวยงาม เช่น บอกไฟยิง บอกไฟลูกหนู บอกไฟข้าวต้ม และที่ขาดไม่ได้เลยคือพลุโอ่งหรือที่คนเมืองเรียกกันว่า ‘บอกไฟน้ำต้น’ ด้วยความที่มีพลุโอ่งมีประกายไฟออกมาเป็นพุ่มสวยงามคล้ายฝนห่าแก้วที่ปรากฏในธรรมมหาชาตินครกัณฑ์ บางคนเชื่อว่าจะเมื่อจุดในช่วงยี่เป็ง ช่วยให้ชีวิตรุ่งโรจน์โชติช่วงเหมือนกับประกายไฟของดอกไม้ไฟ

บอกไฟหรือดอกไม้ไฟจะมีการจุดในวัดล้านนา บอกไฟลูกหนู อีกหนึ่งการละเล่นช่วงลอยกระทง

4. โคมลอย

โคมลอยนับร้อยนับพัน เป็นสัญลักษณ์อีกอย่างของลอยกระทง สั่งซื้อ โคมลอยราคาถูกโคมลอยพร้อมใช้ แพ็ค 10 ลูก https://shope.ee/8A5ojKReEs

ด้วยความเชื่อที่ว่าการสักการะพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี (พระธาตุประจำปีเส็ด หรือปีหมา) ที่ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ คือการปล่อยว่าวไฟหรือโคมลอย ทำให้เกิดธรรมเนียมการปล่อยโคมขึ้น ต่อมายังเชื่อกันว่าการปล่อยโคมลอยเปรียบเสมือนการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศก ปล่อยเรื่องที่ไม่ดีออกไปจากชีวิต โดยนิยมนำประทัดผูกติดกับแกนลวดและจุดชนวน หรือผูกสวยดอกไม้ติดไปกับโคมลอยด้วย อีกทั้งยังเคยเชื่อกันว่าหากโคมลอยตกที่บ้านใคร บ้านหลังนั้นจะเกิดเรื่องไม่ดีหรือมีแต่โชคร้าย แต่ปัจจุบันนี้ปัญหาของการปล่อยโคมลอย คือการก่อให้เกิดอัคคีภัยและรบกวนเส้นทางการบินของเครื่องบิน ทำให้ทางเชียงใหม่มีมาตรการ โดยมีการกำหนดวัน เวลา และพื้นที่ ในการปล่อยโคมลอยในทุกๆ ปี โดยปีนี้วันที่ปล่อยโคมลอยได้คือวันที่ 25 พฤศจิกายน ตั้งแต่เวลา 3 ทุ่มเป็นต้นไป

การปล่อยโคมกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของงานยี่เป็งไปแล้ว
บางแห่งมีการแข่งปล่อยโคมลอดห่วงด้วย ถ้าโคมของใครลอยลอดห่วงก็จะได้รับรางวัล

5. ลอยกระทง

กระทงใบตองดอกไม้ ทายสิว่าใส่อะไรไว้ข้างใน

ตามประวัติศาสตร์ ว่ากันว่าบุคคลคนแรกที่ริเริ่มการลอยกระทงที่เชียงใหม่ คือพระราชชายาเจ้าดารารัศมี โดยใช้วิธีการจุดเทียนบนกาบมะพร้าวที่ทำเป็นรูปเรือหรือรูปหงส์ และใช้ไม้ปอทำเป็นเรือ ซึ่งหลังจากที่การลอยกระทงกลายเป็นประเพณีที่คนไทยทั่วทุกภูมิภาคนิยมปฏิบัติกัน ความเชื่อบางอย่างก็สืบทอดกันต่อมาด้วยเช่นกัน เช่น การตัดผมและเล็บใส่ในกระทง เพื่อเป็นการลอยเคราะห์โศกโชคร้ายต่างๆ ไปกับกระแสน้ำ บางคนก็นิยมใส่เหรียญหรือเงินลงไปในกระทง เพราะเชื่อว่าการให้ทานจะช่วยให้คำอธิษฐานสมหวัง ซึ่งหนุ่มๆ สาวๆ ส่วนใหญ่จะเชื่อเรื่องการขอพรด้านความรัก ในขณะที่ธัมม์อานิสงส์เดือนยี่เป็งลอยประทีสโคมไฟของพระพุทธเจ้าในตอนท้ายกล่าวไว้ว่า ในเดือนยี่เป็งใครทำประทีปโคมไฟไปลอยแม่น้ำ จะได้เป็นคนใหญ่คนโต เป็นที่เกรงขาม มีผิวพรรณงดงามดั่งดวงจันทร์วันเพ็ญ มีสติปัญญาเฉียบแหลม และเพียบพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติต่างๆ ทำให้ชาวล้านนาส่วนใหญ่นิยมไปลอยกระทงตามแม่น้ำในบริเวณชุมชนที่ตนอาศัย


ขอให้กระแสน้ำพัดพาสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ ออกไป

ท่านใดมีความเชื่อเกี่ยวกับประเพณียี่เป็ง แนะนำเจ๋งเข้ามาได้ อย่าลืมแวะมา Comment มาแชร์ให้เจ๋งได้รู้ตามช่องด้านล่างหรือ

  

เจ๋งจะตามไปรีวิวอย่างทันท่วงที

Relate Posts :