Sound Muan (ซาวด์ม่วน) กิจกรรมสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่

Sound Muan (ซาวด์ม่วน) งานที่เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ และเปิดพื้นที่ให้คนร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดแรงแรงบัลดาลใจ ในความเป็นล้านนาที่สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาทั้งงานหัตถกรรม ศิลปะ ดนตรี

ลงทะเบียนหน้างาน

Sound Muan (ซาวด์ม่วน) งานที่เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ และเปิดพื้นที่ให้คนร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดแรงแรงบัลดาลใจ ในความเป็นล้านนาที่สามารถต่อยอดสู่การพัฒนาทั้งงานหัตถกรรม ศิลปะ ดนตรี อาหาร วัฒนธรรม

แซมและพลอย พิธีกรประจำงาน และเป็นผู้ริเริ่มโครงการ

โดยที่จุดประสงค์หลักของงานก็คือ การสร้างชุมชน และอัตลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ที่สามารถนำไปต่อยอดไอเดีย และสร้าง impact ต่อสังคมได้ด้วยไอเดียจากภูมิปัญญาดั้งเดิม แต่มาในรูปแบบที่เข้าถึงง่าย ผ่านการ Talk โดย Speakers สุดเจ๋ง! จากทีม Creative Chiang Mai และทีมผู้อยู่เบื้องหลังงาน TEDx ChiangMai

“วัยรุ่นเป็นวัยที่คิดแต่ไม่ทำ แต่เขาต้องการโอกาสในการพัฒนา”

วิทท์ เจนวิทย์ สุวรรณประดิษฐ์ นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ สาขาการออกแบบ วิทท์เล่าถึงความผิดพลาดและความล้มเหลวของชีวิตในช่วงวัยแห่งความสับสน และการค้นหาตัวเองที่มักถูกจำกัดด้วยตัวเอง คือ คิดแต่ไม่ลงมือทำซักที … วิทท์เล่าว่า “ผมเชียวชาญในความล้มเหลวเลยก็ว่าได้ เพราะทำอะไรก็ไม่สำเร็จ แต่มันก็ทำให้เราได้เรียนรู้” วิทย์ศึกษาการดัดแปลงการสาน/จักรตอก โดยใช้วัสดุธรรมชาติอย่าง หวายและไม้ไผ่ พัฒนารูปแบบจากการศึกษาจากผู้รู้ในชุมชน สู่การสร้างสรรค์กระถางต้นไม้ล้มลุกจากไม้ไผ่และหวาย สิ่งที่เจนวิทย์พูดตลอดคือการเรียนรู้จากความผิดพลาด ในส่วนหนึ่งเขาเล่าว่า

“วัยรุ่นเป็นวัยที่คิดแต่ไม่ทำ แต่เขาต้องการโอกาสในการพัฒนา”

ท้ายที่สุดเจนวิทยืพูเรื่องการทำตามสัญชาติญาณที่เขาเชื่อ และทิ้งท้ายว่า “ผมอยากให้วัยรุ่นทำตามสัญชาติญาณ เพื่อจะค้นพบสิ่งที่มีค่าพอให้เราอยู่กับมันต่อได้”

กุ๊กกิ๊ก กมลชนก แสนโสภา

กุ๊กกิ๊ก กมลชนก แสนโสภา จากความสนใจในการย้อมสีธรรมชาติที่ถูกพัฒนามาจากงานในชั้นเรียน หลังจากจบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบพัสตราภรณ์ เอกสิ่งทอ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กุ๊กกิ๊กกลับมาให้ความสนใจเรื่องการย้อมจากธรรมชาติ (หม้อฮ่อม) โดยการไปศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และพัฒนามาสู่การออกแบบเสื้อผ้าซึ่งเป็นต้นทุนเดิมของเธอ และสร้างแบร์นของตัวเองภายใต้ชื่อ Kamon_Indigo แบรนด์หม้อห้อมแฮนด์เมดที่ใส่ใจรายละเอียดของการย้อมสีจากธรรมชาติ และได้พัฒนารูปแบบการย้อมเป็นของตัวเอง กุ๊กกิ๊กเล่าว่า “วัฒนธรรมถ้าไม่สืบทอดวันหนึ่งก็สูญหาย”


เพียรทำด้วยใจรัก ด้วยตระหนักกลัวสูญสิ้น

การสืบทอดภูมิปัญญาของกุ๊กกิ๊ก จึงเหมือนเป็นประตูบานใหม่ที่พาคนรุ่นใหม่ให้ค้นพบภูมิปัญญาภายใต้ความเรียบเท่ห์ของเสื้อผ้าที่เธอออกแบบ โดยที่กุ๊กกิ๊กสะท้อนผ่านการนำเสนอว่า “เราสืบสานอย่างเดียวมันไม่พอหรือเปล่า เราลืมหาความรู้ ศึกษาทดลองหาสูตรของตัวเอง” ดังนั้นด้วยความกลัวที่ภูมิปัญญาผ้าฮ่อมจะสูญสิ้น เธอจึงเลือกที่สร้างคุณค่าและพัฒนางานออกสื่อสายตาเราอย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวทางที่เธอยึดถือจากครูประนอมคือ

“เพียรทำด้วยใจรัก ด้วยตระหนักกลัวสูญสิ้น”

 

ทราย ปิยะภรณ์ ธรรมปัญญา เจ้าของเพจและแบนร์ด “กิ๋นลำ กิ๋นดี (Kinlum Kindee)”

ทราย ปิยะภรณ์ ธรรมปัญญา เจ้าของเพจและแบนร์ด “กิ๋นลำ กิ๋นดี (Kinlum Kindee)” ความน่าสนใจคือการนำเสนออาหารเมือง(อาหารถิ่นภาคเหนือ) ให้ก้าวออกจากบ้านมาสู่สังคมออนไลน์ ด้วยความเท่ห์ของอาหารเมือง

ทราย เห็นถึงความต้องการและตลาดของคนรุ่นใหม่ที่ใช้ social media ทรายเริ่มให้ความรู้ผู้คนและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารเหนือ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ให้มีความร่วมสมัยเละเท่ห์

กระแสการถ่ายภาพอาหารเหนือจึงค่อยๆ มาตอบโจทย์และสร้างเป็นกระแสในโลกออนไลน์ จนมีการสั่งซื้อผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยทรายกล่าวว่า “อาหารเหนือมันมีมูลค่า เราอยากให้เห็นความสำคัญมันมากกว่า”  จากความตั้งใจที่เธอได้ทำไว้ตอนนี้ทรายเองกำลังพัฒนาอาหารเหนืออะไรให้เราได้ลิ้มลองกัน จึงเป็นสิ่งที่เราตั้งตารอ ก่อนที่เธอจะทิ้งท้ายว่า “ เราอยากให้อาหารเหนือมันเป็นเรื่องหนึ่งในชีวิตคุณด้วย”

แม็ก ภานุพันธ์ ประพันธ์

แม็ก ภานุพันธ์ ประพันธ์ หนึ่งในผู้สร้างกระแสการพูดถึง “คำเมือง” (ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ) ให้ร่วมสมัยผ่านการหยอกล้อเล่นมุก ที่หยิบยกคำเมืองมาเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนา การแชร์โพสต่างๆ จึงเป็นเสมือนการแสดงตัวตนของผู้คนผ่านภาษาอีกด้วยเพจดังกล่าวจึงไม่ได้นิยมแค่ในเชียงใหม่ แต่คนเหนือทั่วประเทศต่างแชร์มุกตลก ผ่านเพจเฟสบุ๊คชื่อ “สาระล้านนา” เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความงดงาม และความขบขันทางภาษา


แม็ก ภานุพันธ์ ประพันธ์ แห่งเพจ สาระล้านนา

นอกจากนี้แม็กยังสนใจในศิลปะวัฒนธรรมทั้งฟ้อนเจิงและเครื่องดนตรีล้านนาอีกด้วย การหยิบยกเรื่องราวเฉพาะถิ่นมาขยายในวงกว้างจึงเป็นการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่คนรุ่นใหม่เช่นเขากำลังทำอีกด้วย

Klee Bho

Klee Bho คลีโพ หรือคลี หนุ่มปกาเกอญอ ที่หยิบเครื่องดนตรี “เตหน่ากู” มาเล่าเรื่องวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ของคนกับป่า สิ่งที่เราเรียนรู้และเติบโต เตหน่ากู ของคลีค่อยๆกระจายเสียงไปยังพื้นที่ต่างๆพร้อมกับการพูดถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คนที่ล้วนยึดโยงกับธรรมชาติ

คลีกำลังเล่าถึงความสัมพันธ์ของคนกับป่าผ่านบทกวี

คลีได้ปรับปรุงพัฒนาเครื่องดนตรีเตหน่ากูให้มีความร่วมสมัยเล่นกับดนตรีสากล และถ่ายทอดให้เยาวชนที่สนใจได้ร่วมสืบทอดวัฒนธรรมต่อไป อีกทั้งยังได้พัฒนาไปสู่การทำโฮมสเตย์ศูนย์การเรียนรู้ Baan Phati – บ้านพาตี่ และการส่งเสริมงานฝีมือของชาวปกาเกอญอในชื่อของ Chiang Mai Karen’s Crafts และ Thong Dee Brown Rice ข้าวกล้องทองดี

บรรยากาศตอนท้ายของงาน

บรรยากาศของงานจึงเต็มไปด้วยการแลกเปลี่ยนของคนรุ่นใหม่ ที่หยิบยกเรื่องราวของวัฒนธรรมมาเล่าใหม่ได้อย่างหน้าสนใจโดยไม่ได้ทิ้งรากเดิมของภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แต่นำเสนอใหม่ได้อย่างร่วมสมัยและใช้ช่องทางการสือสารเพื่อสร้างการรับรู้ได้อย่างน่าสนใจ เพราะในท้ายที่สุดเมื่อวัฒนธรรมไม่ถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สอดรับกับยุคสมัย วัฒนธรรมนั้นย่อมจะสูญหายไปในที่สุด การสืบทอดทางวัฒนธรรมของแต่ละคนกระทำผ่านช่องทาง และวิธีที่ต่างกัน แต่หนึ่งในนั้นคือ การทำให้วัฒนธรรมที่พวกเขารักคงอยู่ต่อไป

ผู้ใหญ่ใจดีของงานนี้
บรรยากาศระหว่าง Speaker กำลังพูด
ผู้ร่วมงานมีทั้งนักเรียนมัธยมและนักศึกษา

สถานที่ Chiang Mai House of Photography (หอภาพถ่ายล้านนา) วันเสาร์ที่ 13.30น. – 17.00น.

 

[wpgmza id=”411″]

 

Relate Posts :