” เก็บผักใส่ซ้า ยับปลามาหื้อคนเมือง ” Fisherfolk in Chiang Mai

      ผ่านไปแล้วกับงาน “เก็บผักใส่ซ้า ยับปลามาหื้อคนเมือง” จัดขึ้นเมื่อเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 10.00-12.00 น. ณ โครงจริงใจมาร์เก็ต โซน C ” ในงานมีการจัดกิจกรรมมากมาย อาทิ การพูดคุยถึงจุดเชื่อมระหว่างเชฟกับปลา ” ฟังคุณแอนดี้ ริคเกอร์ เชฟชื่อดัง ผู้เขียนหนังสือทำอาหาร Best seller ‘POK POK’ เล่าเรื่องสนุกๆจากครัวสู่ตลาด, “ปลานี้ท่านได้แต่ใดมา” สนทนาพาทีกับชาวประมง, “ปลาน้ำเค็มอะนาโตมี” สาธิตการแล่ปลาโดยเซฟอาหารญี่ปุ่น, จากเทนโกกุที่มาพร้อมกับ “ป๋าปึกส์” โก๋แก่แห่งวงการอาหาร, และกูรูจากเซฟกะทะเหล็ก

รวมพลังระหว่างเชฟ ชาวประมง ร้านอาหาร กูรูอาหารและผู้บริโภค เพื่ออาหารทะเลแบบปลอดสารพิษ

ก่อนจะมาเป็นคนจับปลาในเชียงใหม่

จากปัญหาที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับการทำประมง แบบทำลายล้าง การทำการประมงแบบเกินขนาดจน สภาพท้องทะเลตกอยู่ในภาวะวิกฤต หลังจากจับอาหารทะเลมาได้ ก็เกิดการใช้สารเคมีในการรักษาอาหารทะเลให้คงสภาพได้นานที่สุด จึงทำให้โอกาสในการเข้าถึงอาหารทะเลที่สด และปลอดภัยเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ นั้นโอกาสในการเข้าถึงอาหารทะเลที่ปลอดสารเคมี มีน้อยนิดหรือแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ การรวมตัวเพื่อสร้างเส้นทางอาหารทะเลปลอดภัย ไร้สารพิษจึงเกิดขึ้นโดย “คนจับปลา” นั่นคือกลุ่มชาวประมง จ.ประจวบคีรีขันธ์ จากในตอนแรกเริ่มจนถึงในเวลานี้ได้ขยายผลเกิดการรวมกลุ่มของชาวประมงในจังหวัดต่างๆ  เช่น นครศรีธรรมราช ตรัง และจังหวัดสตูล รวมทั้งสิ้น  13 กลุ่ม ใน 4 จังหวัด โดยชาวประมงพื้นบ้านเหล่านี้จะใช้เครื่องมือประมงที่ถูกกฎหมาย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จับสัตว์น้ำตามฤดูกาล เเบบวิถีพื้นบ้าน จับสัตว์น้ำไม่เกินกำลังของทะเลเเละของการดูเเลสัตว์น้ำที่ได้มา

ร้านคนจับปลา

ร้านคนจับปลามีนโยบายที่จะซื้อสินค้าจากชาวประมงพื้นบ้าน รู้ที่มาที่ไปของอาหารทะเล รับซื้อในราคาที่เป็นธรรมกับชาวประมงให้ราคาสูงกว่าเเพปลาทั่วไป ทำให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยจะมีพนักงานของร้านคนจับปลาเเต่ละพื้นที่ควบคุมในเรื่องการซื้อขายนี้หลังจากนั้นนำมาบรรจุโดยใช้นวัตกรรม แบบสุญญากาศ และแช่แข็ง เพื่อยืดอายุ นำความสดใหม่ถึงมือผู้บริโภคได้นานขึ้น อีกทั้งเงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าส่วนหนึ่งคนจับปลาได้คืนกลับไปใช้ในงานอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลเพื่อความยั่งยืนอีกด้วย

การจับสัตว์น้ำแบบพื้นบ้านของ “คนจับปลา” ทำให้สินค้ามีให้เลือกแตกต่างกันไปตามฤดูกาลของท้องทะเล โดยหลักๆก็จะเป็น ปลากุเลาเค็ม ปลาอินทรีย์แดดเดียว ปลาหมึกแดดเดียว ปลาอินทรีย์หั่นแว่น ปลาทูสด ปลาทูหวานไร้ก้าง ปลาสละ ปลากระบอก ปลาทรายขาว กุ้งแช่บ๊วย ปลาหมึกสด เป็นต้น สินค้าของคนจับปลาจะมาในรูปแบบของการแพคแบบสูญญากาศ เพื่อคงความสด สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 3-6 เดือน วิธีการนำไปรับประทาน ก็เพียงนำไปคืนรูป โดยการทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง ใช้ปุ่มละลายน้ำแข็ง ในระบบไมโครเวฟ หรือแช่ลงไปทั้งซองในน้ำเปล่า เพียงสักครู่ก็สามารถนำไปประกอบอาหารได้ตามชอบ ได้รับการพิสูจน์จากแม่ครัวสายใต้ จังหวัดระนองว่าอาหารทะเลยังคงสด ตายังแดง เนื้อแข็งไม่บุ๋ม เมื่อทำอาหารออกมาแล้วเนื้อปลายังคงความสดหวานตามธรรมชาติ ลองปลาทรายมาทอดขมิ้น และต้มส้มปลากระบอก เนื้อยังคงเด้ง หวาน สด และที่สำคัญชอบใจตรงที่ไร้สารเคมี ปลอดฟอร์มาลีน 100% กินอย่างสบายใจกันจริงๆ

จากทะเลสู่เชียงใหม่ Local Shop

Local Shop เป็นร้านที่ทำการตลาดให้เกษตรกร ที่มีความห่วงใยผู้บริโภค ปลอดภัย ไร้สารพิษ สารปนเปื้อน รวมไปถึงต้องการการค้าที่เป็นธรรม ทางร้านมีคติว่า “เงินทองเป็นของมายาข้าวปลาเป็นของจริง” ดังนั้นอาหารที่ขายจะต้องมาจากกรรมวิธีที่ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ด้วยแนวคิดที่คล้ายกันกับของ Fisherfolk จึงทำให้ Local Shop นำสินค้าของ Fisherfolk มาจำหน่าย ซึ่งอันที่จริงแล้ว Local Shop เริ่มต้นสินค้าตัวแรกจากการทำการตลาดให้หมูเสรี เนื่องจากปัจจุบันในตลาดไม่มีพื้นที่ให้กับหมูปลอดภัย หลังจากนั้นจึงมีสินค้าอื่นที่คอนเซ็ปต์เดียวกันเพิ่มขึ้น


สาธิตการแล่ปลาโดยคุณ สันต์ สืบแสง หรือ “ป๋าปึกส์”  มาพร้อมกับเชฟคู่ใจ เชฟภิรมย์

 คุณสันต์ สืบแสง นักชิมรุ่นเก๋า กูรูอาหาร ที่เคยเดินทางเที่ยวรอบโลกจึงมีโอกาสได้ลิ้มลองรสแท้ของอาหารหลากหลาย คุณสันต์ยังแบ่งปันความรู้ทางด้านอาหารผ่านทางการเขียนบล็อกและ Facebook ความเชี่ยวชาญด้านอาหาร จึงทำให้เขาเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นที่ชื่อว่า TENGOKU  ถึง 3 สาขา และยังเป็นกูรูรับเชิญในรายการเชฟกระทะเหล็กที่ออกอากาศทาง ช่อง 7

คุณแอน Go2AskAnne สัมภาษณ์เชฟคนดัง คุณแอนดี้ ริคเกอร์ แชร์ประสบการณ์  เล่าเรื่องสนุกๆจากครัวสู่ตลาด

คุณแอนดี้  ริคเกอร์ แบกเป้เดินทางมายังประเทศไทยครั้งแรกในปี 2530 และครั้งที่ 2 คือปี 2536 แต่ละครั้งที่มาก็มาอาศัยอยู่เป็นเวลาหลายๆ เดือน ตระเวนกินตระเวนเที่ยว ทำอาหาร และศึกษาวัฒนธรรมอาหารของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ในวันนี้เขาเป็นเจ้าของและเชฟ ที่ POK POK ร้านอาหารที่ได้รับรางวัลใน เมืองพอร์ทแลนด์ รัฐออริกอนซึ่งร้านนี้เปิดทำการในปี 2548 ก่อนจะมาเป็นร้าน POK POK เขาทำงานในร้านอาหารมาแล้วรอบโลกก่อนที่จะมาลงตัวที่ เมืองพอร์ทแลนด์ ในปี 2533 ในฐานะนักดนตรีร็อคใกล้ปลดระวางและช่างทาสีบ้านที่แขวนแปรงแล้ว แอนดี้จึงใช้เวลาว่างส่วนใหญ่นอนหลับ และท่องเที่ยวบ้างถ้าเป็นไปได้ ในช่วงปลายปี 2551 เขาเปิดร้านอาหาร Ping ในละแวกไชนาทาวน์ของพอร์ทแลนด์ ซึ่งได้รับเกียรติให้เป็นร้านดาวรุ่งมาแรงของปี 2552 โดยหนังสือ Oregonian Newspaper และหนึ่งใน 10 ร้านอาหารที่เปิดใหม่ในสหรัฐอเมริกา ปี 2552 โดยนิตยสาร GQ และในช่วงปลายปี 2552 นี่เองที่ Whiskey Soda Lounge ขายอาหารและเครื่องดื่มจากประเทศไทยก็ถือกำเนิดขึ้นคนละฝั่งถนนกับ POK POK จากนั้นเชฟริคเกอร์ได้เปิด POK POK Noi ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพอร์ทแลนด์ในปี 2554 ร้านอาหารเล็กๆ ที่มีขายเมนูเดียวกับ POK POK ต้นฉบับ ในปีเดียวกันนี้เองที่เขาได้รับรางวัล Best Chef, Northwest จาก James Beard และในปี 2555 เขาเปิดอีกสองร้านคือ POK POK NY และ POK POK Wing

ไข่ไก่อารมณ์ดี เลี้ยงโดยชาวบ้าน

มะพร้าวก็มาขายให้เด็กได้ซื้อดื่มสดๆ


ยังมีผักออร์แกนิกปลอดสารพิษจำหน่ายอีกด้วย

กุ้ง หอย ปู ปลา มาจากแดนใต้

เชฟเมย์ จาก Monkey’s Kitchen(คนขวา)

คุณเอ้อและคุณกบ จากร้าน Little Cook Cafe

ผู้มาร่วมงานบินตรงมาจากกรุงเทพฯ เพื่อมาขอลายเซ็นต์ คุณแอนดี้ ริคเกอร์ เชฟชื่อดัง โดยเฉพาะเลย น่าประทับใจมากๆ

Relate Posts :