Nano Together… เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจล้านนา ด้วยนวัตกรรมสิ่งทอนาโน

นายวรวัจน์  เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นประธานเปิดงาน “Nano Together… เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจล้านนา ด้วยนวัตกรรมสิ่งทอนาโน” ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ แอร์พอร์ต จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้นวัตกรรมนาโนในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอให้แก่บรรดาผู้ประกอบการด้านสิ่งทอและผู้มีบทบาทสำคัญในพื้นที่  รวมทั้งเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาแนวทางนำนาโนเทคโนโลยีมาเพิ่มมูลค่าและยกระดับสิ่งทอที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือต่อไป  อีกทั้งยังได้นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนาโนในผลิตภัณฑ์สิ่งทอประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากเสื้อผ้า อาทิ  ผ้าห่ม และร่มคุณสมบัตินาโนซึ่งมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ ทำให้มีความสะดวกในการจัดเก็บหลังการใช้  และเป็นการขยายไลน์การผลิตสิ่งทอนาโนให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

นายวรวัจน์ เปิดเผยรายละเอียดว่า งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มมูลค่าสิ่งทอด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการตามนโยบายและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอของไทยตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การพัฒนาเส้นใยและผ้า  การออกแบบ การตัดเย็บ บรรจุภัณฑ์ การตลาด การประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงการบูรณาการร่วมกับพื้นที่  ทั้งนี้เพื่อรองรับการแข่งขันเสรีการค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558

“ปัจจุบัน อุตสาหกรรมสิ่งทอมีการแข่งขันที่สูงมาก ในขณะที่อุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทยยังขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศอ่อนแอลงอย่างมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงได้เกิดแนวคิดในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรม
สิ่งทอให้มีคุณภาพที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีทางด้านนาโนเข้าไปสร้างความแตกต่างให้กับเนื้อผ้าให้มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ อาทิ ลดการยับและเพิ่มการคืนตัวของผ้าระหว่างการใช้สอย หรือเพิ่มความนุ่มนวลเมื่อสัมผัส นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ เช่น สะท้อนน้ำ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดกลิ่นอับ เพิ่มกลิ่นหอม ป้องกันยูวี  เพิ่มคุณสมบัติหน่วงไฟ ซึ่งจะทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายผลิตภัณฑ์มากขึ้น ทั้งเสื้อผ้า และเฟอร์นิเจอร์ เช่น โซฟา  ผ้าม่าน ผ้าห่ม โดยเฉพาะร่มที่เคลือบสารนาโน ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติสะท้อนน้ำและให้ความสะดวกในการจัดเก็บหลังการใช้ เป็นต้น” นายวรวัจน์กล่าว

     นอกจากนี้  กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ยังร่วมกับภาคเอกชนในการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายในระดับสากล  รวมถึงมาตรฐานของการออกแบบตัดเย็บ  การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้อุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบของประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นตามลำดับ


ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอถือเป็นภาคการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้จากการส่งออกให้แก่ประเทศ และมีกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดการจ้างงานสูงถึงกว่า 1 ล้านคน และสามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่าปีละ 2 แสนล้านบาท  ซึ่งตลาดส่งออกหลักได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

“ กระทรวงวิทย์ฯ กำลังเร่งขยายองค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีกับผลิตภัณฑ์สิ่งทอลงสู่ระดับภูมิภาค  เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าและยกระดับผ้าพื้นเมือง  ด้วยความเชื่อมั่นว่า การผสมผสานวิทยาศาสตร์กับจิตวิญญาณของผ้าไทย จะสามารถสร้างความแตกต่าง  และต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอของไทยมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในตลาดโลก    โดยผมหวังว่า  การทำ Road Show ที่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ จะช่วยจุดประกายให้กลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ มีความสนใจที่จะนำนาโนเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้กับสิ่งทอพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของดินแดนล้านนา  เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่หัตถกรรมและอุตสาหกรรมในท้องถิ่น ”  นายวรวัจน์กล่าว

นอกจากนี้ ภายในงานดังกล่าวยังมีแสดงโชว์ตัวอย่างชุดเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ตัดเย็บจากผ้าพื้นเมืองคุณสมบัตินาโน  รวมทั้ง การเสวนากับนักแสดงชื่อดังที่มาร่วมสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของเสื้อผ้าคุณสมบัติ
นาโนด้วย

อนึ่ง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศ  ได้เร่งนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยทั้งระบบ ตั้งแต่ระดับหัตถอุตสาหกรรมของชุมชนท้องถิ่น ไปจนถึงอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอระดับไฮเอนด์ โดยในเบื้องต้นได้เปิดศูนย์บริการรับเคลือบผ้าคุณสมบัตินาโน ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร  และที่จังหวัดแพร่  โดยมีแผนที่จะจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อรับผ้านำไปเคลือบสารคุณสมบัตินาโน ที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นลำดับต่อไป นายวรวัจน์  เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นประธานเปิดงาน “Nano Together… เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจล้านนา ด้วยนวัตกรรมสิ่งทอนาโน” ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ แอร์พอร์ต จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำเสนอการประยุกต์ใช้นวัตกรรมนาโนในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สิ่งทอให้แก่บรรดาผู้ประกอบการด้านสิ่งทอและผู้มีบทบาทสำคัญในพื้นที่  รวมทั้งเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาแนวทางนำนาโนเทคโนโลยีมาเพิ่มมูลค่าและยกระดับสิ่งทอที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือต่อไป  อีกทั้งยังได้นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนาโนในผลิตภัณฑ์สิ่งทอประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากเสื้อผ้า อาทิ  ผ้าห่ม และร่มคุณสมบัตินาโนซึ่งมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ ทำให้มีความสะดวกในการจัดเก็บหลังการใช้  และเป็นการขยายไลน์การผลิตสิ่งทอนาโนให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น

นายวรวัจน์ เปิดเผยรายละเอียดว่า งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มมูลค่าสิ่งทอด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการตามนโยบายและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอของไทยตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การพัฒนาเส้นใยและผ้า  การออกแบบ การตัดเย็บ บรรจุภัณฑ์ การตลาด การประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงการบูรณาการร่วมกับพื้นที่  ทั้งนี้เพื่อรองรับการแข่งขันเสรีการค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558


“ปัจจุบัน อุตสาหกรรมสิ่งทอมีการแข่งขันที่สูงมาก ในขณะที่อุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศไทยยังขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศอ่อนแอลงอย่างมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงได้เกิดแนวคิดในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรม
สิ่งทอให้มีคุณภาพที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีทางด้านนาโนเข้าไปสร้างความแตกต่างให้กับเนื้อผ้าให้มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ อาทิ ลดการยับและเพิ่มการคืนตัวของผ้าระหว่างการใช้สอย หรือเพิ่มความนุ่มนวลเมื่อสัมผัส นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ เช่น สะท้อนน้ำ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดกลิ่นอับ เพิ่มกลิ่นหอม ป้องกันยูวี  เพิ่มคุณสมบัติหน่วงไฟ ซึ่งจะทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายผลิตภัณฑ์มากขึ้น ทั้งเสื้อผ้า และเฟอร์นิเจอร์ เช่น โซฟา  ผ้าม่าน ผ้าห่ม โดยเฉพาะร่มที่เคลือบสารนาโน ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติสะท้อนน้ำและให้ความสะดวกในการจัดเก็บหลังการใช้ เป็นต้น” นายวรวัจน์กล่าว

     นอกจากนี้  กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ยังร่วมกับภาคเอกชนในการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายในระดับสากล  รวมถึงมาตรฐานของการออกแบบตัดเย็บ  การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้อุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบของประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นตามลำดับ

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอถือเป็นภาคการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้จากการส่งออกให้แก่ประเทศ และมีกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดการจ้างงานสูงถึงกว่า 1 ล้านคน และสามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่าปีละ 2 แสนล้านบาท  ซึ่งตลาดส่งออกหลักได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

“ กระทรวงวิทย์ฯ กำลังเร่งขยายองค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีกับผลิตภัณฑ์สิ่งทอลงสู่ระดับภูมิภาค  เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าและยกระดับผ้าพื้นเมือง  ด้วยความเชื่อมั่นว่า การผสมผสานวิทยาศาสตร์กับจิตวิญญาณของผ้าไทย จะสามารถสร้างความแตกต่าง  และต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอของไทยมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในตลาดโลก    โดยผมหวังว่า  การทำ Road Show ที่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ จะช่วยจุดประกายให้กลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ มีความสนใจที่จะนำนาโนเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้กับสิ่งทอพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของดินแดนล้านนา  เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่หัตถกรรมและอุตสาหกรรมในท้องถิ่น ”  นายวรวัจน์กล่าว

นอกจากนี้ ภายในงานดังกล่าวยังมีแสดงโชว์ตัวอย่างชุดเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ตัดเย็บจากผ้าพื้นเมืองคุณสมบัตินาโน  รวมทั้ง การเสวนากับนักแสดงชื่อดังที่มาร่วมสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของเสื้อผ้าคุณสมบัติ
นาโนด้วย

อนึ่ง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศ  ได้เร่งนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยทั้งระบบ ตั้งแต่ระดับหัตถอุตสาหกรรมของชุมชนท้องถิ่น ไปจนถึงอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอระดับไฮเอนด์ โดยในเบื้องต้นได้เปิดศูนย์บริการรับเคลือบผ้าคุณสมบัตินาโน ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร  และที่จังหวัดแพร่  โดยมีแผนที่จะจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อรับผ้านำไปเคลือบสารคุณสมบัตินาโน ที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นลำดับต่อไป

Relate Posts :