แอ่ว ฮู้ ดูม่วน กับเรื่องวัดทางเหนือ

ถ้าใครเป็นคอธรรมะธัมโม ไปเที่ยววัดบ่อยคงพอจะรู้นะครับว่าวัดที่นี้จะต่างจากภาคอื่นๆของไทยอยู่หลายอย่าง

สังเกตได้ง่ายๆเลย วัดที่นี้ 80 กว่าเปอร์เซ็นต์จะมีองค์พระธาตุเจดีย์อยู่ด้วย เป็นเอกลักษณ์อันสำคัญ


แต่ช้าก่อนญาติโยมทั้งหลาย นองจากเจดีย์ที่ว่ายังมีอะไรอีกหลายอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของวัดในเชียงใหม่

ก่อนจะไปสำรวจกันว่ามีอะไรกันบ้าง กรุณาสูดลมหายใจกันลึกๆสักสองดอก


ถามว่าทำไปทำไม…? 

ทำไปเฉยๆเนี่ยแหละครับ ฮ่าๆๆ อ้าววว ไปดูกันมีอะหยังกันบ้าง

1.กู่พระเจ้า หรือโขงพระเจ้า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป

2.โขง คือ ซุ้มประตูทางเข้า มักทำเป็นทรงโค้ง ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นสวบงามเต็มพื้นที่ตั้งแต่ส่วนฐานถึงยอด

3.ตัวเหงา หรือหางวัน คือส่วนปลายของบันไดตรงตำแหน่งที่เป็นเศียรนาคประดิษฐ์ลายม้วนคล้ายเลขหนึ่งไทย

4.ลายหม้อดอก เป็นภาพรูปดอกไม้ในหม้อหรือแจกัน หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ศัพท์ทางศิลปะเรียกว่า ลายปูรณฆฏะ

5.สะตายจีน คือลายปูนปั้นน้ำมันที่ตกแต่งหน้าบันและเสา บางแห่งแต่งด้วยกระจกสี ซึ่งคนพื้นเมืองเรียกว่า กระจกจีน ลายปูนปั้นสะตายจีนแบบล้านนาประดิษฐ์ลายขนาดเล็ก จะติดตกแต่งเต็มพื้นที่จนแทบไม่เห็นพื้นไม้ที่ดูละเอียดยิบพราวตา

6.ขื่อม้าต่างไหม เป็นองค์ประกอบภายในส่วนเครื่องบนของอาคาร เรียกเช่นนี้เพราะลักษณะที่คล้ายกับ “ต่าง” หรือสิ่งที่ใช้บรรทุกผ้าไหมและสินค้าบนหลังม้า

7.กังขารี หรือตัวกินนร กินรีในภาคกลาง ประดับตามวิหาร โบสถ์ หรือส่วนหลังคา

8.ช่อฟ้า อยู่กึ่งกลางของสันหลังคา ตกแต่งเป็นแบบต่างๆ เช่น รูปมณฑป เขาสัตบริภัณฑ์ เป็นต้น

9.ลายคำ เป็นลายลงรักปิดทอง ตกแต่งบนผนัง เสา และส่วนประกอบของวิหารหรือโบสถ์ที่ส่วนใหญ่เป็นไม้

10. สัตภัณฑ์ เชิงเทียนแบบล้านนารูปทรงสามเหลี่ยม มีที่ปักเทียนตั้งลดหลั่นกันอยู่ 7 จุด ลักษณะเหมือนภูเขาซึ่งมีผู้อธิบายว่าเป็น เขาสัตบริภัณฑ์ทั้งเจ็ดที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ศุนย์กลางจักรวาลในคติพุทธศาสนา บ้างก็ว่ามีนัยหมายถึงหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา คือ โพชฌงค์ 7 สัปปุริสธัมมะ 7

รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม คือคำส่งท้ายที่อยากจะฝาก

Relate Posts :