เปิดโลกไร้กาลเวลาผ่านงานศิลปะเซนกับคามิน เลิศชัยประเสริฐ

นิทรรศการ The Timeless Present Moment
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม (MAIIAM)
ช่วงเวลาจัดแสดง กันยายน 2559-กุมภาพันธ์ 2560
ที่ตั้ง : อยู่บนถนนสันกำแพงสายเก่า เยื้องกับสยามศิลาดล
เปิดบริการ : เวลา 10.00 -18.00 . ปิดทุกวันอังคาร
ค่าบริการ : คนละ 150 บาท (เข้าชมได้ทั้งวัน)
Link : www.facebook.com/MAIIAMchiangmai/

12
ทุกอย่างในโลกสอนเราได้ อย่ายึดติดในรูปแบบ

ศิลปะคือโลกของความเป็นไปได้ทุกอย่างที่เราอาจใช้สร้างสรรค์ความงาม ปลดปล่อยความคิด รวมทั้งเพื่อแสวงหาคำตอบหรือคุณค่าของชีวิตด้วยก็ได้ วันนี้ปาป้าอยากชวนทุกคนมาชมนิทรรศการงานศิลป์เรียบง่ายที่ชวนเราตั้งคำถามว่า

ความสุขในชีวิตคืออะไร?

10
อาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐ

อาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ตลอดเวลาที่ผ่านมา เขาใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการแสวงหาคำตอบเรื่องคุณค่าของการมีชีวิต ประกอบกับความสนใจเรื่องพุทธศาสนา เซนและพิธีชงชาแบบญี่ปุ่น ทำให้สิ่งเหล่านี้กลายเป็นผลงานสุดเรียบง่ายแต่อลังการในหัวใจผ่านนิทรรศการที่มีชื่อว่า “The Timeless Present Moment” หรือ “ปัจจุบันขณะที่ไร้กาลเวลา”

2
จักรวาลในอะตอมและอะตอมในจักรวาล

ตามหลักพุทธศาสนาบอกว่า เวลาที่เราคิด ความคิดจะสร้างประสบการณ์ของอดีตกับอนาคต เลยทำให้เวลามันปรากฏ คือ อดีต อนาคต และปัจจุบันที่แยกออกจากกัน แต่เมื่อไรก็ตามที่เราหยุดคิดปรุงแต่ง แล้วโฟกัสลมหายใจจนเป็นหนึ่งเดียวกับตัวเรา คือสิ่งที่ถูกเฝ้าสังเกตกับผู้เฝ้าสังเกตมารวมอยู่ด้วยกันเป็นเนื้อเดียว ช่วงนั้น เวลาจะไม่มีอยู่ ไม่มีอดีต ไม่มีปัจจุบัน ไม่มีอนาคต นั่นแหละคือสิ่งที่ผมสนใจ ผมอยากสัมผัสประสบการณ์ที่ไร้ตัวตน ไร้การแบ่งแยก หรือไร้กาลเวลา เลยเริ่มศึกษาว่าแท้ที่จริงแล้วมันเป็นยังไง” อาจารย์คามินเล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของผลงานพันกว่าชิ้นที่จัดแสดงอยู่ในขณะนี้ ก่อนยื่นถ้วยชาอุ่นๆ มาให้ดื่ม

3
ธรรมชาติของความว่าง

ในหนังสือเซน จะพูดเรื่องความว่าง วงกลมของพระเซนเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นหนึ่งเดียว พูดถึงสัจจะของแก่นอะไรบางอย่าง แล้วโดยส่วนตัวผมสนใจเรื่องการนั่งสมาธิ การปั้นถ้วยชาอยู่แล้ว ก็เลยใช้สิ่งนี้เป็นการทดลองเพื่อให้ตัวเองสัมผัสถึง ประสบการณ์ที่จะทำให้รู้สึกถึงการรวมกันเป็นหนึ่ง ผมอยากรู้ว่ามันเหมือนกับสภาวะที่เราทำงานอยู่ไหม เพราะบางคนบอกว่า ไม่ต้องนั่งสมาธิหรอก เพราะการทำงานก็เหมือนนั่งสมาธิอยู่แล้ว แต่ผมก็ยังสงสัยว่า ถ้ามันเหมือนกันจริงมันจะเรียกต่างกันทำไม ผมก็เลยศึกษาด้วยการปั้นถ้วยชาทุกวัน”


11
ถ้วยชาสลักถ้อยคำเซนบทเรียนของการเรียนรู้เรื่องปัจจุบันขณะ

การปั้นถ้วยชาของเขาเริ่มต้นพร้อมกับการศึกษาคำสอนของพระเซน ทุกวันหลังการนั่งสมาธิ เขาจะปั้นถ้วยชาหนึ่งใบพร้อมสลักถ้อยคำจากบทเรียนเซนที่เรียนรู้ในวันนั้นลงไปบนถ้วย ทำเช่นนี้ทุกวันวันละ ใบให้ครบเวลา 1 ปีหรือเป็นจำนวน 365 ใบ เพื่อทำความเข้าใจเรื่องปัจจุบันขณะ

4
ภาพเขียนหมึกบนกระดาษนับพันชิ้นบนผนังขนาดใหญ่

แต่พอ 277 ใบ ผ่านไป ผมก็เลิกเขียน text เพราะรู้สึกว่าการเขียนเหมือนกับเราพยายามอธิบายความจริงผ่านภาษา ซึ่งความจริงแล้วมันอธิบายไม่ได้ แล้วกลับมาทำงานปั้นอย่างอิสระ โดยไม่ควบคุมรูปทรงหรือทิศทาง ทำให้ผมเข้าใจเลยว่า ถ้าเราไปโฟกัสการปั้นถ้วยให้เกิดความงาม เราจะสูญเสียอิสระไป เพราะมันเป็นการสร้างความอยาก เราอยากให้มันเป็นถ้วยที่ดี ถ้วยที่งาม และตัวนี้แหละที่ต่างจากการนั่งสมาธิ ซึ่งเป็นการทำอะไรบางอย่างโดยที่เราไม่ได้ต้องการอะไรมานั่งเพื่อนั่ง เพื่อให้เข้าใจสัจจะ ผมเลยค้นพบว่าเมื่อไรก็ตามที่เราปั้นโดยไม่คาดหวังว่าต้องมีความงาม เราจะปั้นโดยมีอิสระภายใน และอาจพบความงามแบบอื่นๆได้นอกเหนือไปจากกรอบที่ตัวเองกำหนดขึ้นมา ซึ่งเหมือนการนั่งสมาธินั่นแหละ คือ ปล่อยวาง แล้วเข้าไปโฟกัสที่ข้างในแทนข้างนอก ถ้วยชาจึงเป็นกระบวนการหนึ่งของวิปัสนา และช่วยตอบโจทย์ของคำว่าปัจจุบันขณะคืออะไร”

เช่นเดียวกันกับที่เขาตั้งข้อสังเกตว่าชาวพุทธมากมายพูดถึงเรื่องความดีงาม แต่มีสักกี่คนที่จะทำได้อย่างแท้จริง จนวันหนึ่งเหตุการณ์นี้ก็เกิดขึ้นกับตัวเอง เมื่อเขาเจอลูกหนูตัวแดงซุกอยู่ในพื้นที่ทำงานแต่ก็ไม่รู้จะจัดการอย่างไร ได้แต่งุ่นง่านกับตัวเอง จนกระทั่งถิงชู ผู้ช่วยทำงานศิลปะของเขา เดินเข้ามาอุ้มลูกหนูใส่อุ้งมืออย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมกับคำพูดว่า “เอาไปเลี้ยงสิ”

5
เมตตา อีกหนึ่งภาพไฮไลท์ของการแสดงนิทรรศการชุดนี้

นาทีนั้นผมอึ้งไปเลย คิดในใจทำไมมันแก้ปัญหาง่ายจังวะ ในขณะที่เราเอาแต่คิดวนเวียนเกือบทั้งวัน คนเราพร่ำบ่นเรื่องทำความดี แต่พอถึงเวลาจริงๆ เรากลับทำไม่ได้ เรื่องนี้กระทบใจมาก เหมือนมันชกหน้าผมอย่างจังว่าสิ่งที่เรารู้ (know) กับสิ่งที่เราเป็น (being) มันเป็นคนละเรื่องกัน เราอ่านหนังสือพระพุทธศาสนา เราเข้าใจ เราปฏิบัติ แต่พอถึงเวลาแบบนั้นเรากลับทำไม่ได้ เราพูดเรื่องเมตตา แต่ไม่มีสิ่งนั้นในตัวเองเลย”

ความเมตตา” จึงเป็นไฮไลท์สำคัญของการแสดงผลงานศิลปะครั้งนี้ ซึ่งนำเสนอผ่านรูปปั้นถิงชูอุ้มหนูอยู่ในอุ้งมือและภาพเขียนอีกชิ้นหนึ่ง

8
รูปปั้นเหมือนของถิงชูสื่อความหมายเรื่องเมตตา ไฮไลท์ของการแสดงชุดนี้

ความเมตตาจากเหตุการณ์นี้ไม่ใช่การให้ที่หวังผลตอบแทน คือไม่มีตัวเรา ไม่มีคนอื่น แต่หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน เขาไม่ได้คิดว่าเขากำลังให้หรือมีบุญคุณ เป็นสภาวะอินฟินิตี้ ไม่มีตัวตน เป็น selfless และ timeless และทั้งสิ่งนี้ วงกลม ถ้วยชา ก็ต่างพูดเรื่องเดียวกัน ก็คือการไม่มีตัวเรา ไม่มีคนอื่นและนี่แหละที่เป็น ปัจจุบันขณะที่ไร้กาลเวลาอย่างแท้จริง ”


การเรียนรู้เรื่องปัจจุบันขณะช่วยปรับมุมมองและวิธีคิดในการทำงานของเขาไปได้มาก โดยเฉพาะแนวคิดเซนที่สอนเรื่อง “จิตของผู้เริ่มต้น” (beginner mind) หากคนเราพกความเคยชินในการมองโลกด้วยสายตาแบบเดิมๆ เราก็ย่อมพลาดโอกาสที่จะเห็นสิ่งอื่นด้วยมุมมองใหม่ๆ ทั้งๆ ที่เรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ชั่วขณะนั้นล้วนเป็นสิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา

6
เมตตาที่แท้คือการกระทำไม่ใช่คำพูด

คนเราถ้า Set up Zero เสมอ เราจะเรียนรู้ได้ตลอดเวลา แต่คนเราชอบคิดว่าเรารู้แล้ว เรามีคำตอบกับทุกเรื่องแล้ว เราก็เลยไม่เคยเรียนรู้อย่างอื่นเลยนอกจากสิ่งที่ตัวเองเซ็ตอัพเอาไว้ การทำวิปัสสนาจึงเป็นการเซ็ตซีโร่ในทุกขณะ เราจะเรียนรู้ได้ทุกขณะ มีสติ เข้าใจและพร้อมที่จะเห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้าตามความเป็นจริงตลอดเวลา” อาจารย์คามินกล่าวทิ้งท้าย

7
เมื่อจิตและกายเป็นหนึ่งเดียว นั่นคือการไม่มีอดีต ไม่มีปัจจุบัน ไม่มีอนาคต คือสภาวะไร้กาลเวลาแท้จริง

ลองไปชื่นชมงานศิลปะที่น่าตื่นตาตื่นใจกันดูนะ งานเรียบง่ายแต่สามารถนำเสนอประเด็นต่างๆ ได้อย่างลึกซึ้ง ผลงานที่น่าสนใจมีทั้งชุด “เกิด แก่ เจ็บ ตาย” ที่ลานด้านหน้าทางเข้านิทรรศการ งานเรื่อง “เมตตา” ผ่านภาพเหมือนตัวจริงของถิงชูและภาพเขียนเด็กน้อยอุ้มหนูในมือ ภาพหล่อรูปอาจารย์คามินเปลือยกายสื่อความหมายเรื่อง “ไม่มีอดีต ไม่มีปัจจุบัน ไม่มีอนาคต” ภาพปฏิมากรรมเหมือนศิลปินที่จำลองภาพหน้าตาเหมือนฮิตเลอร์ ไอสไตน์ พระพุทธเจ้า เด็กพังค์ เพื่อสื่อความหมายว่า “เราทุกคนเหมือนกัน” คือ มีความรักเสรีไม่ต่างจากเด็กพังค์ มีความบ้าอำนาจไม่ต่างจากฮิตเลอร์ มีความเป็นอัจฉริยะไม่ต่างจากไอสไตน์และมีความเป็นพุทธะไม่ต่างจากพระพุทธเจ้า ถ้วยชารากุที่ปั้นตลอดเวลา ปี จำนวน 365 ใบ ภาพเขียนหมึกบนกระดาษนับพันชิ้น และผลงานอื่นๆ อีกมากมาย

%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a2-%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b9%e0%b9%88%e0%b9%83%e0%b8%99
เกิดอยู่ในตาย ตายอยู่ในเกิด เชิญชวนให้คนไปนั่งสมาธิในหัวกระโหลกได้ด้วย

ชิ้นที่ปาป้าอยากแนะนำที่สุดคือชิ้นที่เป็นปฏิมากรรมไฟเบอร์กลาสรูปหัวกระโหลกสีทองขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในห้องจัดแสดง พูดเรื่อง “เกิดอยู่ในตาย ตายอยู่ในเกิด” ด้านหลังของหัวกระโหลก(ความตาย) เป็นช่องทางเข้าเหมือนเครื่องเพศผู้หญิง (การเกิด) ศิลปินออกแบบไว้ให้ผู้ร่วมชมนิทรรศการสามารถเข้าไปนั่งสมาธิอยู่ภายในโดยมีเสียงบรรเลงแบบเซนอยู่ด้วย อยากให้ไปลองมีประสบการณ์กันดูนะ แล้วมาแชร์ความรู้สึกกัน

9
วางใจให้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงชีวิตจะพบสุขแท้

อดีตเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว อนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันขณะจึงเป็นช่วงเวลาเดียวที่เราเป็นเจ้าของชีวิตตัวเองอย่างแท้จริง จงมีชีวิตอยู่อย่างเต็มเปี่ยมในชั่วเวลานี้ ขณะนี้ มองไปข้างหน้าอย่างมีเป้าหมาย แต่อย่าลืมมีความสุขในระหว่างการเดินทางด้วย ชีวิตจะมีคุณค่าและน่าจดจำขึ้นอีกเยอะเลย 🙂

Relate Posts :