ขึ้นทะเบียน ส้มตำ ปลาร้า หมากเก็บ วิ่งควาย มรดกภูมิปัญญา 2555

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จัดพิธีประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

โดยงานครั้งนี้ จัดเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสิทธิชุมชนในการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู ปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ และเป็นการรองรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก ทั้งนี้นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า ในปี 2555 ได้มีประกาศขึ้นมรดกภูมิปัญญา จำนวน 70 รายการ  7 สาขา ดังนี้

สาขา 1 สาขาศิลปะการแสดง 13 รายการ 2 ประเภท คือ

  • ประเภทดนตรี 5 รายการ ได้แก่ ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู, ซอสามสาย, เพลงหน้าพาทย์, กันตรึม, เจรียง และกาหลอ
  • ประเภทการแสดง 7 รายการ ได้แก่ ก้านกกิงกะหร่า, ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา, รำฝรั่งคู่, ละครดึกดำบรรพ์, โนราโรง ครู, มะโย่ง และรองเง็ง

สาขา 2 สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 11 รายการ 4 ประเภท คือ


  • ประเภทผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า 5 รายการ ได้แก่ ผ้าทอไทครั่ง, ผ้าทอไทลื้อ, ผ้าทอกะเหรี่ยง, ผ้าทอไทยวน และผ้าทอผู้ไทย
  • ประเภทเครื่องรัก 2 รายการ ได้แก่ เครื่องมุกไทย และเครื่องรัก
  • ประเภทเครื่องโลหะ 2 รายการ ได้แก่ ขันลงหินบ้านบุและบาตรบ้านบาตร
  • ประเภทงานศิลปกรรมพื้นบ้าน 2 รายการ ได้แก่ สัตตภัณฑ์ล้านนาและโคมล้านนา

สาขา 3 สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน 14 รายการ 2 ประเภท คือ

  • ประเภทนิทานพื้นบ้าน 12 รายการ ได้แก่ นิทานพระร่วง, นิทานตาม่องล่าย, พระสุธนมโนห์ราภาคใต้, วันคาร, ตำนานเจ้าหลวงคำแดง, ตำนานพระธาตุดอยตุง, ตำนานเจ้าแม่สองนาง, ตำนานอุรังคธาตุ, ตำนานหลวงปู่ทวด, ตำนานนางโภควดี, ตำนานสร้างโลกของภาคใต้และวรวงศ์
  • ประเภทตำรา 2 รายการ ได้แก่ ปักขะทึนล้านนา ตำราศาสตรา

สาขา 4 สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย 8 รายการ 3 ประเภท คือ

  • ประเภทการเล่นพื้นบ้าน 3 รายการ ได้แก่ ไม้หึ่ม, หมากเก็บ และเสือกินวัว
  • ประเภทกีฬาพื้นบ้าน 4 รายการ ได้แก่ หมากรุกไทย, ตะกร้อลอดห่วง, วิ่งวัว และวิ่งควาย
  • ประเภทศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ได้แก่ เจิง

สาขา 5 สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม 7 รายการ 2 ประเภท คือ

  • ประเภทขนบธรรมเนียมประเพณี 5 รายการ ได้แก่ การผูกเกลอ, การผูกเสี่ยว, เทศน์มหาชาติ,พิธีทำบุญต่ออายุ และการแต่งกายบาบ๋า เพอนารากัน
  • ประเภทงานเทศกาล 2 รายการ ได้แก่ สารทเดือนสิบ และประเพณีรับบัว

สาขา 6 สาขาความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 11 รายการ 4 ประเภท คือ


  • ประเภทอาหารและโภชนาการ 6 รายการ ได้แก่ สำรับอาหารไทย, แกงเผ็ด, แกงเขียวหวาน, ส้มตำ, น้ำพริก และปลาร้า
  • ประเภทการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน 3 รายการ ได้แก่ ลูกประคบ, ยาหอมและหมอพื้นบ้านรักษากระดูกหัก
  • ประเภทโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และไสยศาสตร์ ได้แก่ คชศาสตร์ชาวกูย
  • ประเภทชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน ได้แก่ ดอนปู่ตา

สาขา 7 สาขาภาษา 6 รายการ 2 ประเภท คือ

  • ประเภทภาษาไทยถิ่น 3 รายการ ได้แก่ อักษรธรรมล้านนา, อักษรไทยน้อย และอักษรธรรมอีสาน
  • ประเภทภาษากลุ่มชาติพันธุ์ 3 รายการ ได้แก่ ภาษาชอง,ภาษาญัฮกุร และภาษาก๋อง

ปล. จาก คนอยากเล่า

Twitter – @cmthaitravel

Relate Posts :